ต้องขอออกตัวก่อนครับว่าผมจะนำบทความจาก web ต่างๆมารวมกันเป็น blog แห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงประเภทต่าๆโดยผมจะพยายามให้เครดิตผู้เขียนและเวปที่อ้างอิงทุกครั้งเสมอเท่าที่หาได้นะครับ If you want to read in English plz visit http://aqua-freshwater.blogspot.com/
Tuesday, July 21, 2009
ปลาปิรันย่า ฝูงนักล่าสุดสายน้ำ
ปลาปิรันย่า ถ้าหากบอกว่า ปลาปิรันย่า นี่้ เป็นญาติกับ ปลานีออน (ปลาตัวเล็กๆในกลุ่ม เตตร้า (Tetra)ที่มีสีสันสดใส) จะเชื่อไหมครับ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ เพราะเจ้านี่อยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกันจริงๆครับ เนื่องด้วยในปลาในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1111 ชนิด (Species) และจัดเป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น ปลาปิรันย่า จะหมายถึงปลาที่อยู่ใน วงศ์ย่อย (Subfamily) Serrasalminae (serra means 'saw', 'sawed' or 'serrated', salmus means 'salmon') เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 13 สกุล 60 ชนิด มีเพียง สกุล Pristobrycon (5 ชนิด) Pygocentrus (3 ชนิด) Pygopristis (1 ชนิด) และ Serrasalmus (24 ชนิด) ซึ่งถูกจัดเป็นปลาปิรันย่าแท้จริง แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion (1 ชนิด) ด้วย
ส่วนปลาเปคู และ silver dollars ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ ไม่จัดเป็นปลาในกลุ่มปลาปิรันย่าแต่อย่างใด
ในปัจจุบันจำนวนชนิดของปลาปิรันย่า ยังไม่ค่อยแน่ชัดนักเนื่องจากยังมีการพบปลาปิรันย่า ชนิดใหม่อยู่ จนในปี 2003 จึงยอมรับกันว่า มีอยู่จำนวน 38-39 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงบางชนิดที่ยังมีข้อสงสัยกันอยู่
การแพร่กระจายพันธุ์
ปลา ปิรันย่า นั้นพบในลุ่มแม่น้ำอเมซอน: ใน โอริโนโค (Orinoco), ในแม่น้ำของกีอาน่า (Guyana), ในปารากวัย-ปารานา (Paraguay-Parana), และในระบบแม่น้ำเซาฟรังซีสกู (Sao Fransico) มีบางชนิดที่มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่ในทางตรงข้ามก็มีบางชนิดที่มีการแพร่ะกระจายอยู่ในวงจำกัด. อย่างไรก็ตาม ปิรันย่า ได้เคยถูกนำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา, มีบางครั้งบางคราวที่ถูกพบใน แม่น้ำโปโตแม็ค (Potomac RIver) แต่ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพหนาวจัดของบริเวณนั้น. จนเมื่อไม่นานมานี้ ปิรันย่า ได้ถูกจับได้โดยชาวประมงใน แม่น้ำคาทาวบา (Catawba RIver) ใน North Carolina นี่เป็นกรณีแรกใน North Carolina. ปลาปิรันย่าได้ถูกพบอีกครั้งที่ทะเลสาปแคปไต (Kaptai Lake) ในตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ
ลักษณะของปลาปิรันย่า
ลักษณะทั่วไปของปลาปิรันยา มีลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป
ปลาปิรันย่า โดยปกติมีขนาดตั้งแต่ 15-25 ซม. (6-10 นิ้ว) ในบางชนิดพบว่ามีขนาดถึง 41 ซม. (24 นิ้ว) เลยทีเดียว
ปลา ปิรันย่าในสกุล Serrasalmus, Pristobrycon, Pygocentrus, และ Pygopristis สามารถจำแนกได้ง่ายมาก โดยดูจากลักษณะเฉพาะของฟัน. ปลาปิรันย่าทั้งหมด มีฟันที่มีความคมเรียงกันเป็นแถวเดียวบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง; ฟันเหล่านั้นจะเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบและเชื่อมต่อกัน เพื่อใช้ในการกัดและฉีกอย่างรวดเร็ว. ฟันที่มีลักษณะเฉพาะของมันจะมีรูปแบบเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายใบมีด.ฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ปลาปิรันย่าส่วนใหญ่จะมีฟันเขี้ยวแบบสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นในสกุล Pygopristis จะมีฟันเขี้ยวแบบห้าเหลี่ยม และ ฟัน premaxillary มีอยู่ด้วยกัน 2 แถว ซึ่งจะพบได้ในปลาส่วนใหญ่ใน วงศ์ย่อย (Subfamily) Serrasalminae
นิเวศน์วิทยา
ปลาปิรันย่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเป็นอย่างมากของ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ. อย่างไรก็ตามในอาณาเขตที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึง พื้นที่ลุ่มที่มีการระบายน้ำได้ดี, ปลาปิรันย่ามีการแพร่กระจายและเป็นวงกว้าง และ แหล่งที่อาศัยมีความหลากหลายอยู่ได้ทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็น แหล่งน้ำไหล (Lotic) และ แหล่งน้ำนิ่ง (Lentic). ปลาปิรันย่า บางชนิดมีจำนวนมากในบางพืิ้นที่ และ ในหลายๆชนิด อาศัยอยู่รวมกัน. ซึ่งเป็นได้ทั้งผู้ล่า (Predators) และผู้กินซาก (Scarvengers).
ปิ รันยา เป็นที่กล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก ปลาปิรันย่า เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร ที่มีฟันที่มีความคมมาก ปิรันยามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นร้อยหรือเป็นพันๆตัว เมื่อกินอาหาร จะใช้วิธีล่าเหยื่ออย่างหิวกระหาย โดยการพุ่งเข้าโจมตี อย่างรวดเร็ว แล้วรุมกัดแทะ. ความคิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากความเชื่อในอดีตเกี่ยวกับ ปิรันย่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการนำเสนอความคิดนี้ขึ้นมาว่า แท้จริง การรวมตัวกันเป็นฝูงของพวกมันนั้นเป็นกลไกเพื่อป้องกันตัวพวกมันเองจาก ผู้ล่าตามธรรมชาติ เช่น ปลาโลมาแม่น้ำ จระเข้เคแมน และ อะราไพม่า หาใช่รวมฝูงกันเพื่อโจมตีเหยื่อแต่อย่างใด
ความสัมพันธ์ระว่างปิรันย่ากับมนุษย์
คนในท้องถิ่นจะใช้ฟันของปิรันย่า เป็นเครื่องมือและอาวุธ. ชาว "อินเดียน" ใน "กิอานา" ได้ใช้เป็นอาวุธ โดยนำฟันของปิรันยามาทำเป็นใบมีดหรือหัวของลูกธนู ปิรันย่าเป็นอาหารที่ผู้คนท้องถิ่นชื่นชอบ, ในการจับปิรันย่าด้วยเบ็ดบางครั้งปิรันย่าเคราะห์ร้ายตัวนั้นอาจจะถูกโจตี โดยปิรันย่าตัวอื่นๆ
ปิรันย่าเป็นปลาที่ชาวประมงท้องถิ่นใช้ในการบริโภค เพื่อยังชีพ และนำไปขายเป็นอาหารในตลาดท้องถิ่น. ในช่วง 10 ปีท่ี่ผ่านมานี้, พวกมันถูกนำไปตากแห้งเพื่อทำเป็นของที่ระลึกขายให้แก่นักท่องเที่ยว. ปิรันย่า จะโจมตีเป็นบางครั้ง และ บางเวลาอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ, แต่การตั้งใจโจมตีจริงๆ นั้นค่อนข้างยาก นอกเสียจากว่าจะถูกคุกคามโดยพวกคนที่ไปท้าทายหรือแหย่มัน เช่นเอามือลงไปในน้ำ. การกัดมนุษย์ของปลาปิรันย่า หากพิจารณากันแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ระวัง หรือโชคร้าย. แต่ปลาปิรันย่า จะถูกคุกคามเสียมากกว่าที่มันจะคุกคามมนุษย์ ไม่ว่า ทางการค้า และ เกมส์ตกปลา เนื่องจากว่า พวกมันขโมยเหยื่อ, การสร้างความเสียหายให้แก่ตาข่าย และ เครื่องมือ และบางครั้งมันก็กัดเมื่อไปจับมัน
ปิรันย่า หลายชนิด ถูกจับไปขายในตลาดปลาสวยงาม. ปิรันย่า สามารถหาซื้อเป็นปลาเลี้ยงได้ในบางพื้นที่, แต่พวกมันไม่ได้รับอนุญาติให้ค้าในส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา. ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันย่าแดง Pygocentrus nattereri. หรือ red-bellied piranha. ปิรันย่า สามารถหาซื้อได้ไม่ว่าขนาดโตเต็มที่ หรือ ขนาดวัยเด็กขนาดไม่ใหญ่กว่าหัวแม่มือ. ในการเลี้ยงนั้น ปิรันย่า สกุล Pygocentrus ควรเลี้ยงตัวเดียว หรือไม่ก็เป็นกลุ่ม 3 ตัวขึ้นไป, ไม่ควรเลี้ยงเป็นคู่, การคุกคามของมันนั้นมันแพร่กระจายได้กว้างมาก และจะอยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ปลาตัวที่อ่อนแอมีชีวิตอยู่รอดได้. อาหารของพวกมันได้แก่กุ้ง เนื้อปลา. ในปลาเล็กๆนั้นอาจจะให้อาหารเม็ด หรือเหยื่อที่มีขนาดเล็กๆ ซึ่งพวกมันสามารถฆ่าได้. หนอนแดง หรือ ตัวอ่อนแมลง น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ในปลาขนาดใหญ่ การให้ปลาทองดูเหมือนจะเป็นเหยื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก. ปิรันย่านั้นต้องการสภาพแวดล้อมที่มืดๆ มีพืชน้ำปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดการตื่นของปลา. และไม่ควรใช้แสงในตู้สว่างมากนัก เพราะจะทำให้ปลาไม่อยากกินอาหาร
เนื่องจากปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ในพื้นที่เขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากสามารถหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ปลาปิรันยาเป็นสัตว์น้ำที่ห้ามมิให้มีไว้ในครอบครอง หรือนำเข้ามาในประเทศ
เครดิต คุณ อีกาตัวดำๆ ครับจากเวปพี่ต้น rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=244&action=view
Thursday, July 16, 2009
หอยเขา Horned Nerite Snail: Clithon corona
หอยเขา Horned Nerite Snail: Clithon corona
ข้อมูลทั่วไป
หอยเขามีชื่อมาจากเขาที่อยู่บนเปลือก มันจะมีสีดำและเหลืองปนเป็นลางเส้นสลับไปมา เปลือกของหอยเขาจะแข็งมากและเขาเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันตามธรรมชาติ มันเป็นสัตว์รักสงบและจะไม่ไปยุ่งกับสัตว์อื่นๆ ในตู้
การเพาะพันธ์
จุด ด้อยของหอยเขา และหอยสาย Nerite อื่นๆ คือไม่สามารถขยายพันธ์ในน้ำจืดบริสุทธิได้ หอยเขาต้องการน้ำกร่อยเพื่อขยายพันธ์ นักเพาะพันธ์บางคนสามารถเพาะมันได้ แต่ดูเหมือนลูกหอยจะมีชีวิตได้ไม่นาน บางคนอาจเห็นจุดนี้เป็นข้อดี เพราะมันหมายความว่าหอยจะไม่ขยายพันธ์จนล้นตู้
รูปร่างหน้าตา
หอย เขาเป็นหอยสาย Nerite ขนาดเล็ก ขนาดเฉลี่ยอยู่ที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1ส่วน4 นิ้ว แต่ตัวแก่อาจใหญ่ได้ถึง 1ส่วน2 นิ้ว มันจะมีสีดำและเหลืองปนเป็นลางเส้นสลับไปมา เมื่อหอยโต ลายเส้นจะขยายใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อยๆ หอยเขาบางตัวอาจมีลายเส้นที่แปลกและลายสลับที่แตกต่างออกไป
เขา
เขา ของหอยเขาจะขี้นโดยสุ่มและไม่มีจุดตายตัว สิ่งที่กำหนดจุดและขนาดของเขายังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด และยังไม่แน่ว่าเขาจะงอกยาวขึ้นเรื่อยๆเมื่อหอยแก่ตัวลงหรือไม่ เขาจะปรากฏที่จุดเริ่มตรงหลังของเปลือก การจับควรกระทำด้วยความระวัง เนื่องจากเขาอาจทิ่มมือได้
การให้อาหาร
แม้หอยเขาจะตัวเล็ก แต่ความสามารถในการกินตระไคร่นั้นสูงทีเดียว หอยพวกนี้จะทำความสะอาดตู้กระจกจนเรี่ยมและกินตระไคร่ที่ติดตามหินและใบไม้ อีกด้วย ขนาดที่เล็กทำให้มันเหมาะแก่การปีนไปกินตะไคร่ตามใบไม้ หอยเขามีน้ำหนักเบาและจะไม่ตกจากใบไม้ ข้อแนะนำคือควรให้อาหารเสริมหอยเขาเป็น algae wafers หรืออาหารเสริมอย่างอื่นเมื่อเลี้ยงในตู้
พฤติกรรม
หอยเขาจะ ปีนออกนอกตู้ มันเป็นหอยชนิดที่ไปตามน้ำและสามารถอยู่นอกน้ำได้เป็นเวลาชั่วคราว ให้คอยตามจับมันกลับลงตู้ ข้อแนะนำให้คอยจับตามองไว้ให้ดี บางคนสันนิฐานว่าหอยจะหนีต่อเมื่อมันไม่สบายกับสภาพในตู้หรือเกิดอาการ เครียด
เครดิตคนแปล คุณ fall จาก clubaqua ครับ
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=42172.0
Tuesday, July 14, 2009
"ชะโด" เพชฌฆาตลุ่มแม่น้ำไทย
ชื่อไทย ชะโด, แมลงภู่, อ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ GIANT SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa micropeltes
ถิ่นอาศัย ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
สภาพภูมิอากาศ: เขตร้อน 25 – 28 ํC
อาหาร กุ้ง ปลา สัตว์น้ำต่างๆ
ชะโด เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน Channidae โดยชะโดจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 ก.ก. มีฟันแหลมคมมาก ห่างกันเป็นซี่ๆและมีฟันละเอียดอยู่ระหว่างช่องฟันหลักๆ ไว้ใช้จับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ ไม่สามารถที่จะดิ้นหลุดไปได้ เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อมีขนาดโตขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวครามอมน้ำตาลคล้ายสีของ เปลือกหอยแมลงภู่แทน
โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า " ชะโด " หรือ " อ้ายป๊อก " เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า " แมลงภู่ " ตามสีของลำตัว
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อยๆ ในช่วงนี้ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า " ชะโดตีแปลง "
เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเชีย อินเดีย อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ด้วย
ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่ น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก
เครดิต คุณ tum_kung29@hotmail.com จากเวปพี่ต้น Rof นะครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=128&action=view
ที่มา http://fisc.er.usgs.gov/Snakehead_circ_1251/html/channa_micropeltes.html
Subscribe to:
Posts (Atom)