Thursday, June 25, 2009

Family: Osteoglossidae (Arowanas) Ord


Family: Osteoglossidae (Arowanas)
Order: Osteoglossiformes (bony tongues)
Class: Actinopterygii (ray-finned fishes)
FishBase name: Asian bonytongue
ลักษณะ - ปลาน้ำจืดโบราณ ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ในที่เลี้ยงก็ได้เต็มที่ราวๆเกือบ 30 นิ้ว(ตู้ใหญ่ๆหรือบ่อ) ส่วนในตู้กว้าง 24 นิ้ว ปลาก็ยาวได้ราว 25-26 นิ้วเต็มที่ ส่วนมากก็ได้ 20นิ้วเศษๆ
รูปร่าง - ลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครับก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหมวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่
อุปนิสัย - ค่อนข้างก้าวร้าว ในตู้ขนาดไม่ใหญ่นักควรจะเลี้ยงตัวเดียว บางกรณีจะเลี้ยงรวมได้ แต่ตู้ต้องใหญ่ซักหน่อย อย่างน้อย 70*30*30 ปลาอโรซัก8-9 ตัว ขนาดไล่เลี่ยกัน อาหารสมบูรณ์ และการสังเกตการที่ดี เพราะปลาแต่ละตัวดุไม่เท่ากัน ตัวที่อ่อนแออาจเจ๊บหนักถึงตายได้ แต่ยังไงๆปลาก็มักจะมีตำหนิครีบแตกเกล็ดหลุดอยู่ดีครับ และพอมันโตๆกันแล้วคงแน่นดีพิลึก อาจจะเลี้ยงได้ไม่ตลอดด้วยครับ ของเสียของปลาจะเยอะจนต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ และไม่แนะนำให้เลี้ยงอโรเอเชียจำนวนน้อยๆสองสามตัวรวมกันนะครับ กัดกันกระจุยแน่นอน
การสืบพันธ์ - ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่น ๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็น ตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย มีบางท่านเพาะพันธ์ได้ในตู้ขนาดใหญ่มากๆ แต่ปลาเพาะส่วนใหญ่ได้มาจากบ่อดินหรือบ่อปูนใหญ่ที่ปล่อยพ่อแม่พันธ์ลงไป หลายสิบคู่ แล้วปล่อยให้ปลาจับคู่กันเอง
การเลี้ยงดู - ขนาดปลาสัมพันธ์กับขนาดตู้ เนื่องจากอโรเอเชียจะมีเกล็ดใหญ่ การกลับตัวจะต้องใช้พื้นที่มากว่าอโรวาน่าเงินหรืออโรวาน่าดำ ที่ลำตัวอ่อนช้อยกว่า ตู้ปลาจึงควรกว้างซักหน่อย เถียงกันไปมาว่าตู้ขนาดไหนเหมาะที่สุดที่จะเลี้บงอโรวาน่าได้ตลอดชีวิต คำตอบส่วนมากคือตู้ขนาด 60*24*24 ลดน้ำ 4 นิ้ว กรองนอกตู้ แต่ในสภาพการเลี้ยงจริง ตู้ขนาดดังกล่าวจะใช้กระจกหนา2หุนครึ่งขึ้นไป ซึ่งแพงกว่าตู้หนา2หุนพอสมควร ทำให้ราคาตู้ขนาดดังกล่าวโดขึ้นไปถึงประมาณ 4000 บาท ซึ่งหลายๆคนก็หันมาใช้ตู้ 60*20*20 กระจก 2 หุน กรองข้างหรือกรองนอกตู้ และบางท่านก็เลี้ยงอโรในตู้ 48*20*20 ไปตลอดชีวิตปลาเป็นสิบปีก็มี ครับ ตู้ใหญ่ย่อมได้เปรียบและดีต่อปลา แต่ตู้ขนาด 48*20*20 น่าจะเป็นขนาดเล็กสุดที่*รับได้สำหรับทั้งปลาทั้งคนเลี้ยงครับ เพราะปลาขนาด 20 นิ้วคงอึดอัดพอสมควรกับตู้ที่เล็กกว่านี้
อาหาร - ในธรรมชาติกินปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในที่เลี้ยงก็ให้ปลาเหยื่อ หนอนนก เขียด กบ กุ้งฝอยเป็นและตาย ตอนขนาดไม่เกิน 5 นิ้วก็ให้ไรทะเลก่อน จนกว่าจะโตได้ที่ค่อยให้อาหารอื่นๆ พวกเนื้อหมู เนื้อไก่ก็กินได้ แต่ไม่ดีเพราะจะย่อยยาก และทำให้น้ำเสียง่าย
อโรอดอาหารได้เป็นเดือน บางทีเอามาลงตู้ใหม่ๆ ปลาไม่กินอะไรก็อย่าเครียดก่อนปลานะครับ

อุณหภูมิที่เหมาะสมก็ 24-30 องศา ที่บ้านเราหน้าร้อนจะร้อนกว่านั้นนิดหน่อย ไม่เกิน 33 พอรับได้ เกินนี้ควรหาทางลดอุณหภูมิบ้าง

ข้อ ควรระวัง - อโรกระโดเก่ง ปิดฝาตู้นะครับ ถ้าเลี้ยงบ่อต้องมีฝาปิด หรือขอบบ่อสูงซักฟุตครึ่งกันเหนียวครับ การโดดลงไปตายในช่องกรองข้างเป็นเรื่องปกตินะครับ หาอะไรมาปิดไว้ก็ดีครับ

ใแห ล่งที่พบ - นธรรมชาติปลาชนิดนี้เหลือน้อยเต็มที ในไทยแทบๆจะไม่เจอตัว แหล่งต้นกำเนิด Indonesia, Malaysia, Thailand, Cambodia และ Viet Nam.

โรคที่เจอบ่อยๆ
- เกล็ดพอง สาเหตุ คุณภาพน้ำแย่มาก ติดเชื้อจากอาหาร ติดเชื้อภายใน เป็นเมื่อไรถามหมอรอฟครับ
- ตาขุ่น เหตุ น้ำไม่สะอาด ปลาว่ายเอาตาไปถูผนังตู้ สายออกซิเจนจนติดเชื้อ หมั่นขัดผนังตู้ เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้นอีหน่อยก็หายเองได้
- เหงือกบาน เหตุ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น้ำเย็นไป ออกซิเจนน้อย เลี้ยงปลาในตู้แคบเกินไป บางกรณีที่แก้ไขที่ต้นเหตุได้ ปลาจะอาการดีขึ้นหรือหายเหงือกบานเอง บางทีไม่หายก็ต้องตัดเหงือกอ่อนทิ้ง ถามหมอรอฟได้เช่นกัน
- หนวดปลาหมึก เกิดจากตู้เล็ก ปลาอึดอัด เอาหนวดถูตู้ ตู้ไม่สะอาด เลยติดเชื้อ แก้ที่สาเหตุอาการจะดีขึ้น
- ปรสิต พวกหนอนสมอ ทำให้เกิดการระคายเคือง
เป็นโรคอะไรถามหมอรอฟได้ที่เวปนี้ครับ

การเปลี่ยนน้ำ - ประมาณอาทิตย์ละครั้งที่ราว 20-30 เปอร์เซน

อย่าใส่ยาในกรณีที่ปลาไม่ป่วย อโรวาน่าแพ้ยามาลาไคท์กรีนอย่างรุนแรงและทำให้ถึงตาย

สายพันธ์ มีมากมาย บางทีก็เรียกต่างๆกันไป
- ทองอ่อน
- เขียว
- เรดบี หรือแดงเกรดสอง
- ทองอินโด
- ไฮแบค ลูกผสมทองอินโดกะมาเลย์
- อโรแดง
- ทองมาเลย์
และ ยังมีชื่อย่อยๆอีกหลายชื่อ จะซื้อก็ศึกษาก่อนซื้อครับ ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อกะเจ้าของเวปนี้แหละ คัดปลาดี แข็งแรง ราคาถูกเมื่อเทียบกะตลาดกลาง
รูปภาพ - เนื่องจากกลัวเวปเต็ม ลองหารูปดูจากกระทู้ในเวปนี้แหละครับ มีทุกสายพันธ์ให้ชม

เพื่อนร่วมตู้
อโร วาน่าเลี้ยงกะปลาอื่นๆได้ครับ เช่นพวกบิเซีย เสือตอ การ์ต่างๆ แคทฟิชหลายชนิด นกแก้ว ตะเพียน อินซีเนต ปลาหมอบางชนิด ปลากระทิง และอื่นๆอีกมากมายมากมาย หาอ่านดูได้จากกระทู้เก่าๆเช่นกันครับ นิสัยของอโรบางตัวก็อยู่กะเมทได้มากมาย บางตัวก็ไล่กัดเขาไปทั่ว เล่นถึงตายก็มี ต้องลองกับปลาคุณเองครับ ว่าเขาชอบแบบไหน

หลักๆคือ อย่าให้อยู่กะปลาที่ดุมากๆ ใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าอโรมากๆ อย่าให้ปลาอโรเล็กกว่าปลาในตู้จนเกินงาม อย่าให้เพื่อนร่วมตู้เล็กกว่าปากอโรวาน่า ไม่ควรรวมกับปลาอื่นที่ว่ายระดับผิวน้ำ เพราะอโรจะไล่งับเอา ปลาที่ว่ายระดับใกล้พื้นตู้จะอยู่กะอโรได้ดีกว่า และปลาที่รวมกะอโรควรเอาตัวรอดได้ เช่น หนังหรือเกล็ดหนา ว่ายน้ำเร็ว ซ่อนเก่ง หรือหุ่นใกล้เคียงกับอโรของเราครับ
1 ทองมาเลย์
2 ทองอินโด
3 แดงอินโด/blood red/ chilli red
4 เขียวมาเลย์

เขียวครับ


chilli red


blue/purple base


RTG/ทองอินโด


Red B


็ำHigh Black


Blood Red หรือ แดงอินโด


ทองมาเลย์ Blue base งามๆ


ทองอ่อน


ส่วน สี อื่นๆ ก็เป็นการครอสบรีดระหว่างสายพันธุ์กันมาเรื่อย เช่น blue/purple base ก็เป็น ทองมาเลย์ ผสม ทองอินโด เป็นตัน
แล้วแต่ฟาร์ม แล้วแต่คนขาย ว่าจะเรียกว่าอะไร

นำมาจากเวปพี่ต้น Rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=81&action=view

Tuesday, June 23, 2009

Thalassophryne amazonica สัตว์ประหลาดยุคดึกดำบรรพ์

ก่อนจะเข้าเรื่องเกี่ยวกับเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้เราลองมาทำความรู้จักปลาในกลุ่มนี้กันก่อนดีกว่านะครับ

ปลาในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae (Toadfish)) ถูกเรียกชื่อนี้เนื่องจากพวกมันมีสีที่ไม่เป็นระเบียบ ดูสกปรกเลอะเทอะดูค้ลายกับคางคกบก (คำว่า Batrachus ในภาษากรีกหมายถึง กบ) พวกมันมีอยู่ด้วยกัน 79 ชนิด ใน 21 สกุล ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล ในส่วนของการแพร่กระจายพันธุ์จะพบได้บ้างในเขตน้ำกร่อย และใน สกุล Thalassophryne จะมีชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ในอเมริกาใต้ ซึ่งก็คือชนิด Thalassophryne amazonica (Prehistoric Monster fish).
ปลากลุ่มปลาคางคก นี้ มีวิธีการล่าเหยื่อยแบบซุ่มโจมจี (Ambush) พวกมันจะชอบฝังตัวกับพื้นทราย ด้วยสีที่ดูเลอะเทอะไม่สะดุดตาช่วยให้มันหลบพ้นจากสายตานักล่าชนิดอื่นๆได้ เป็นอย่างดี. หนามแหลมบริเวณหลังและหนามแหลมบริเวณส่วนคลุมเหงือกของปลากลุ่มนี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Thalassophryne จะมีเป็นท่อซึ่งสามารถฉีดพิษไปยังนักล่าที่ต้องการที่จะล่าพวกมันเป็นอาหาร
ปลา คางคกนี้เรารู้กันว่าพวกมันสามารถส่งเสียงร้องได้ ในตัวผู้จะมีการใช้ถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ ในการทำให้เกิดเสียงเพื่อดึงดูดตัวเมีย.

ลักษณะรูปร่าง : ปลาคางคก เป็นปลาไม่มีเกล็ด โดยที่ตาอยู่ด้านบนของหัวที่มีขนาดใหญ่. ปากมีขนาดใหญ่ รับกับ Premaxilla และขากรรไกรบน (Maxilla). เหงือกมีขนาดเล็กและมีเพียงข้างละอัน, มีหนามแหลม 1 เส้น พร้อมกับเส้นครีบอ่อนๆจำนวนมาก.


การแพร่กระจาย พันธุ์ : สามารถพบได้ในทะเลทั่วโลก มีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่อาศัยออยู่ในแหล่งน้ำจืด เช่น Daector quadrizonatus ที่พบในโคลัมเบีย, Potamobatrachus trispinosus ที่พบในอเมซอน รวมถึงเจ้า Thalassophryne amazonica ก็เป็นชนิดน้ำจืดที่พบในแม่น้ำอเมซอนเช่นกัน

พฤติกรรม : ปลาคางคก จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นใต้น้ำ ขอบเขตตั้งแต่แถบชายฝั่งไปจนถึงทะเลลึก. ปลากลุ่มนี้เป็นพวกกินไม่เลือก (Omnivorous) เหยื่อก็ได้แก่ หนอนทะเล, สัตว์กลุ่มกุ้ง ปู, หอย รวมถึงปลาที่มีขนาดเล็ก. พวกมันจะหลบซ่อนอยู่ตามรอยแตกของหิน หรือ ขุดพื้นทรายเพื่อซ่อนตัวล่าเหยื่อ
ตัว ผู้จะสร้างรังและคอยปกป้องไข่หลังจากที่ตัวเมียทำการวางไข่แล้ว. ในปลาตัวผู้จะดึงดูดความสนใจตัวเมียด้วยการส่งเสียงร้อง โดยการปล่อยอากาศโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อของถุงลม. เสียงจะฟังคล้ายเสียงฮัม หรือ เสียงผิวปาก

ทีนี้มาเข้าเรื่องของพระเอกของงานกันบ้างนะครับ

เจ้ามอนสเตอรฟิช มีญาติร่วมสกุล (Genus) อยู่ด้วยกัน 6 ชนิด และมีสมาชิกร่วมวงศ์ (Family) อยู่ด้วยกัน 79 ชนิด
สกุล Thalassophryne มีดังนี้
Thalassophryne amazonica (Monster fish)
Thalassophryne maculosa (พบอาศัยอยู่แถบชายฝั่ง-เขตน้ำลึกตั้งแต่ 1-200 เมตร)
Thalassophryne megalops (พบอาศัยอยู่ในทะเล ที่ระดับความลึก 77- 183 เมตร)
Thalassophryne montevidensis (พบอาศัยอยู่ในทะเล)
Thalassophryne nattereri (พบอาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย และ ทะเล)
Thalassophryne punctata (พบอาศัยอยู่ในทะเล)
จะเห็นได้ว่า เจ้า Monster Fish เป็น Thalassophryne เพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด

ชื่อ "Prehistoric monster fish" อันแปลกประหลาดของมันทำให้มันดูเป็นที่สนใจกว่า ปลากลุ่มปลาคางคกชนิดอื่น (batrachoidid) จากอเมริกาใต้.

ชื่อเรียกกันทั่วไป Prehistoric monster fish
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ เปรู บราซิล และ เอกวาดอ; Rio Conambo, Corriantes and Shiona.
ขนาดโตเต็มที่ 10-15 ซม. (4-6 นิ้ว)
น้ำ : สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำนิ่งได้ดี และสามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่เป็นกรดและมีความกระด้างเล็กน้อย รวมถึงน้ำที่เป็นด่าง (pH อยู่ในช่วง 6.5 -7.5)
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
อาหาร ได้แก่ ปลาหรือกุ้งโดยเฉพาะที่แช่แข็ง. ผู้เลี้ยงบางคนอาจจะให้อาหารชนิดอื่นๆแทนกุ้ง,ปลามีชีวิต ก็สามารถทำได้
ลักษณะ นิสัย : ค่อนข้างขี้อาย และ ชอบหลบซ่อน. และใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันไปกับการมุดตัวลงไปในทราย. พวกมันเป็นนักล่าที่โหดเ *** ้ยมและจะคอยจับปลาเล็กๆที่ผ่านหัวมันไป
ตู้ เลี้ยง : ควรเป็นตู้ที่มีทรายปูพื้นค่อนข้างหนาที่จะให้มันสามารถซุกตัวลงไปได้. ทรายควรเป็นทรายละเอียดหนาประมาณ 5-8 ซม. (2-3 นิ้ว).
เจ้ามอนสเตอร์ฟิช นี้ ไม่จำเป็นต้องมีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเลี้ยงมันก็ได้. สำหรับในตัวเต็มวัย 1 คู่ สามารถเลี้ยงได้อย่างสบายในตู้ขนาด 24 นิ้ว
เพศ: การแยกเพศทำได้ยาก นอกจากการดูขนาดของมัน คือ ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้.
แทงค์เมท : ควรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของเจ้านี่

เป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มสนใจที่จะเลี้ยงเจ้านี่กันหรือยัง สำหรับผมขอบอกว่าเจ้านี่น่าเลี้ยงเอามากๆเลยครับผม

ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ ในบทความนี้จะมีศัพท์คำหนึ่งที่ผมใช้ทับศัพท์ไปเพราะหาความหมายมันไม่ได้ เลยให้ดูรูปประกอบแทนแล้วกันนะครับ

Premaxilla


เครดิตคุณ อีกาตัวดำๆ จากเวปพี่ต้น Rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=208&action=view

Monday, June 22, 2009

เต่าหมูบิน( Fly River Turtle )


เต่าหมูบิน Fly River Turtle
ชื่อสามัญ : Fly River turtle, Pig-nosed turtle,Pig Nose Turtle
Pitted-shell turtle , New Guinea Plateless Turtle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carettochelys insculpta
ถิ่นกำเนิด : ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย New Guinea
สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย : ทะเลสาบ บึงขนาดใหญ่ แม่น้ำที่มีกระแสน้ำไม่รุนแรง
ลักษณะโดยทั่วไป :
ด้วยรูปร่างหน้าตาที่ออกจะคล้ายเต่าทะเลมาก เพราะชีวิตความเป็นอยู่
ของ Fly River จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในน้ำ โครงสร้างต่างๆทางร่างกายจึงเป็นลักษณะให้เอื้อ
แก่การว่ายน้ำเท่านั้น ส่วนแขนขาจะไม่มีนิ้วเหมือนเต่าน้ำชนิดอื่นๆ(แต่มีเล็บ)
สีกระดองจะเป็นสีเทา ใต้กระดองจะมีสีขาวอมชมพู หดแขนขาเข้ากระดองไม่ได้
เพราะส่วนผิวหนังจะติดกับกระดองอ่อนอย่างเห็นได้ชัด หน้าตาแน่นอนว่าต้องมีส่วนที่คล้ายหมู
นั้นคือจมูกที่ใหญ่(Pig Nose)มีรูจมูกที่กว้างเพื่อใช้รับกลิ่นและดมหาอาหารใต้น้ำ
ตาสีดำกลมโต(แต่สายตาไม่ค่อยดีเท่าไหร่) ส่วนปากจะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมากเพื่อขบกัด
และช่วยฉีกเนื้อสัตว์(แข็งและคมมาก)

เพศ : ตัวผู้จะมีส่วนหางที่ใหญ่ยาวกว่า ตัวเมียจะมีส่วนปลายหางที่สั้นแหลมและเล็กกว่า(ดูจากรูป) โตเต็มวัยจะอยู่ที่ 17-22 นิ้ว
อายุ : อยู่ในช่วง 25-30 ปี

อาหาร : เนื้อสัตว์ เนื้อกุ้ง เนื้อปลาตาย(เมนูแนะนำ) อาหารเม็ด ผัก ผลไม้

การเลี้ยงดู :
เต่าหมูบิน เต่าจมูกหมู เป็นเต่าที่อยู่ในน้ำตลอดเวลา กินนอนในน้ำ สถานที่เลี้ยงควรเป็นบ่อน้ำลึก
พอประมาณ ไม่ตื้นจนเกินไป(ควรมีที่กั้นสูงอย่างดีเพราะอาจจะปีนออกมาเดิน เล่นเป็นเพื่อนสุนัขที่บ้านได้) ถ้าเลี้ยงในตู้กระจกควรเป็นตู้ทรงสูง เพื่อ รองรับการว่าย(บิน)ของเต่าที่ชอบว่ายไปมา
อาจจะออกแบบให้ตู้โล่งๆ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด หรือมีทราย หรือหิน ให้ เพราะเต่าบินชอบฝังตัวในทราย(เหมือนตะพาบ) ไม่เหมาะเลี้ยงในตู้หรือ อ่างๆแคบๆ เพราะเต่าจะโตช้าและเครียดได้ เต่าจะว่ายขึ้นมาหายใจเป็นระยะ หา กินเวลากลางคืน หากมันว่ายไปมา ดมๆพื้นตู้
นั้นแสดงว่ามันกำลังหาอาหาร อาหารสดเป็นๆ จำพวก ลูกปลาต่างๆนั้น เต่าไม่ สามารถจับมากินได้มากนักเนื่องจากความเชื่องช้าในการล่า(ไม่ใช่เต่านัก ล่า) ควรให้เนื้อปลา เนื้อกุ้งที่ตายแล้วมากกว่าให้มันล่าเอง อาจจะบอกได้ ว่าเต่าบินเป็นเต่าที่มีจมูกที่ไว แต่สายตาแย่ เพราะหากมีกลิ่นอาหารมันจะดม หาและตามกลิ่นได้ดีกว่ามองด้วยตามันเอง กินทุกอย่างที่อยู่ก้นตู้ เต่าบิน เป็นเต่าที่ต้องรักษาความสะอาดของน้ำมากพอสมควร เพราะหากเกิดการหมักหมมของ น้ำ ที่มีระบบกรองที่ไม่ดี
หรือไม่ได้เปลี่ยนน้ำให้สะอาดสม่ำเสมอ ขี้เต่าหรือของกินที่เต่ากิน เหลือ ความสกปรกของน้ำ จะมีผลทำให้กระดองเต่าเกิดคราบสกปรก ทำให้เต่าเกิดมี แผลเปื่อยลอกของกระดองและผิวหนัง การดูแลที่ดีที่สุดคือรักษาน้ำให้สะอาด

จากที่ได้เลี้ยงมา ก็เป็นเต่าที่เลี้ยงง่ายครับ ไม่กวน ทำตัวน่ารักกับคน เลี้ยง กินง่าย นอนน่ารัก(สุดๆ) ว่ายน่ารัก แต่ไม่น่ารักกับเพื่อนร่วมตู้ เท่าไหร่ โดยนิสัยแล้วเต่าบินดุครับ หากต้องการเลี้ยงรวมกันหลายตัวมักจะกัด กัน ตัวใหญ่รังแกตัวเล็ก ไล่กัด ไล่งับปลาตัวอื่นที่เลี้ยงรวมกัน(แต่ก็เป็น เฉพาะบางตัวนะครับ) หากต้องการเลี้ยงเต่าบินร่วมกันคงต้องใช้ตู้ขนาด ใหญ่ เพราะเต่าสามารถว่ายไปมาได้อย่างเต็มที่ การกัดกันเองก็จะลดลงหรือไม่ มีเลย ส่วนปลาที่จะเลี้ยงรวมไปในตู้ด้วยกัน ควรเป็นปลาที่ว่ายเร็ว ไม่เหมาะ กับปลาที่ว่ายช้าๆ (หางปลาแหว่งแน่ๆครับ) ผมเลี้ยงรวมกับปลาเสือตอครับ
เต่าบินกินทุกอย่างที่มันดม เจอและคิดว่าเป็นอาหาร แม้แต่อึมันเองมันก็งับ กิน(ตักออกแทบไม่ทัน) ระบบกรองที่ดีจะทำให้น้ำสะอาด ผมไม่นิยมให้อาหารเม็ด กับผักครับ เพราะทำให้น้ำมีสีเขียว
และมีเศษฝุ่นฟุ้งกระจายมากทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากขึ้น ส่วนใหญ่จะให้เนื้อกุ้ง เนื้อปลา มันกินเหลือก็ตักออก(ส่วนใหญ่กินหมด)

พูดถึงความนิยมในเต่าชนิดนี้ผมคิดว่ามีพอสมควรเพราะความน่ารักโดยเฉพาะคุณ ผู้หญิง ราคาก็ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับเต่านอกชนิดอื่นๆ การหามาเลี้ยง นั้นอาจจะอยู่ในช่วงฤดูที่มีการนำเข้ามา
(แล้วไม่ถูกจับ ฮ่า) อัตราการเติบโตก็ไม่ได้โตเร็วมากนัก ปีนึงอาจจะโตแค่ 1-2 นิ้ว
ซึ่งเหมาะแก่การดูแลเลี้ยงให้อยู่ในระยะยาวได้โดยที่ไม่เบื่อ(เหมือนเต่าน้ำ น่าสงสารบางชนิดที่โตแล้วคนก็เบื่อ) ยังไงถ้าสนใจเลี้ยงหรือมีไว้ครอบครอง ดูแลแล้ว ก็รักษามันไว้ให้ดีๆนะครับ


เพศผู้ครับ

เพศเมียครับ






เครดิตคุณ Jiwpaethong จาก
http://www.siamreptile.com/webboard/webboard_show.php?id=22068
http://www.tortoise.org/archives/pignose.html
http://flyriverturtle.com/default.html
http://www.austinsturtlepage.com/Care/caresheet-fly_river_turtle.htm
http://homepage3.nifty.com/yoshina/modoki/

ปลาปอด Lepidosiren paradoxa หนึ่งเดียวแห่งป่าอเมซอน


ปลาปอดอเมริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidosiren paradoxa (Fitzinger, ค.ศ. 1837) อยู่ในชั้น (Class)Sarcopterygii ชั้นย่อย (Subclass) Dipnoi ลำดับ (Order) Lepidosireniformes ตระกูล (Family) Lepidosirenidae สกุล (Genus) Lepidosiren

ปลาปอดเมริกาใต้ หรือ ปลาปอดพาราด๊อกซ่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณเมตรครึ่ง หัวมีลักษณะกลมกว่าปลาปอดแอฟริกา ลำตัวมีสีดำคล้ำ มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาปอดแอฟริกา และมีนิสัยที่สุภาพกว่า มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลกไปกว่าปลาปอดจำพวกอื่น ๆ คือ สามารถกินพืชจำพวกเห็ดราได้ด้วย

เมื่อปลาปอดยังเป็นลูกปลานั้น ปลาปอดพาราด็อกซ่า จะมีจุดสีทอง บนพื้นสีดำ, แต่เมื่อโตขึ้นสีพื้นเหล่านั้นจะจางลงไปเป็นสีน้ำตาล หรือเทา. ชุดฟันบนขากรรไกรบน (premaxillary และ maxillary) มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับปลาปอดชนิดอื่นๆ. ปลาปอดอเมริกาใต้มี ขากรรไกรบนที่เชื่อมต่อโดยตรงกับกระโหลก ทำให้กล้ามเนื้อยึดขากรรไกรมีกำลังมาก ซึ่งพบได้ในปลาปอดทั้งหมด, ลำตัวมีลักษณะยาวและเพรียว ซึ่งดูคล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างแอมฟิอุม่า, ครีบหางเป็นแบบ ไดฟิเซอคอล (diphycercal). ปลาปอดชนิดนี้สามารถโตได้ถึง 1.25 เมตร (4.1 ฟุต). ครีบอกจะมีลักษณะผอมเรียวคล้ายเส้นด้าย, ในขณะที่ครีบเชิงกรานจะค่อนข้างใหญ่กว่า และอยู่ห่างกันมาก. เหงือกจะหดสั้นลงไปเรื่อยๆ และจะหายไปเมื่อโตขึ้น

ปลาปอดพาราด๊อกซ่าสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเพียงแค่บางช่วงของปีได้, เช่น หนองน้ำตื้นๆ, แหล่งน้ำนิ่งของแม่น้ำสาขา และคลองเล็กๆ. พื้นที่เหล่านี้จะแห้งในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลน พวกมันจะฝังตัวลงไปในโคลนลึกประมาณ 30-50 ซม., สร้างเป็นโพรงบริเวณปลายหลุมนั้น เหลือเพียงช่องเล็กๆที่ทำหน้าที่รับอากาศจากภายนอกเท่านั้น ภายในนั้นปลาปอดจะขดตัวหางไปจรดถึงหัว, หลังจากนั้นจะขับเมือกออกมาเพื่อสร้างเป็นดักแด้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอา ไ้ว. อากาศจะเข้ามาทางช่องที่ขุดไว้ผ่านทางหลุมเล็กๆบริเวณด้านบนของโคลนที่แห้ง. ปลาปอดจะเข้าสู่สภาวะการจำศีล พวกมันจะหยุดการเจริญเติบโต รวมทั้งหยุดกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดลงชั่วคราว เท่าที่ทราบพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ได้นานถึง 4 ปี.ในช่วงระหว่างการจำศีล ปลาปอดจะทำการลดการเผาผลาญพลังงานลง และใช้สารอาหารจากส่วนไขมันบริเวณหาง จนกว่าสภาพแวดล้อมจะเหมาะสม พวกมันถึงจะออกมาอีกครั้ง

เมือกเคลือบตัวของปลาปอดอเมริกาใต้นี้ จะคล้ายคลึงกับพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ. มากกว่าปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus fosteri)

จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝน​พวกมันจะออกมากจากการจำศีลนั้น ปลาปอดที่โตแล้วจะย้ายไปยังบริเวณพื้นที่น้ำท่วม ทำการจับคู่ผสมพันธุ์ เและจะเริ่มสร้างรังและวางไข่อีกครั้ง ปลาปอดทั้งตัวผู้ตัวเมีย จะรวบรวมเศษต่างๆ เพื่อนำมาสร้างเป็นรัง ในขณะที่ตัวผู้จะคอยปกป้องไข่ในช่วงที่ยังเป็นไข่จนกระทั่งไข่ฟักออกมาเป็น ตัว ในช่วงเวลานี้ตัวผู้จะพัฒนาโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยท่อจำนวนมากซึ่งดูคล้าย ขนนกปกคลุมอยู่โดยพัฒนามาจากครีบเชิงกราน โครงสร้างนี้จะทำให้ตัวผู้สามารถนำอ๊อกซิเจนออกจากเลือดของมันไปยังบริเวณ รอบๆของรัง และขจัดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกไปด้วย เพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำให้แก่ไข่ที่กำลังฟักเป็นตัว โครงสร้างนี้จะหายไปหลังจากพ้นผ่านฤดูผสมพันธุ์ไปแล้ว

ลูกปลาปอดพาราด๊อกซ่า เมื่อแรกออกมาจากไข่ จะคล้ายกับพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมาก. พวกมันมีเหงือกภายนอก 4 ชุด เพื่อใช้ในการหายใจในช่วง 7 สัปดาห์แรกนับตั้งแต่เกิดมา. หลังจากพ้นช่วงเวลานั้น พวกมันจะสามารถหายใจด้วยอากาศได้อย่างแท้จริง และเหงือกภายนอกเหล่านั้นจะเริ่มหดหายไป

ปลาปอดพาราด๊อกซ่า เป็นปลาปอดเพียงชนิดเดียวที่พบในอเมริกาใต้ พบอาศัยอยู่ตามหนองน้ำ แหล่งน้ำนิ่ง หรือมีการเคลื่อไหวเพียงเล็กน้อย เช่น หนองน้ำ หรือทะเลสาป ของอเมซอน, ปารากวัย และ ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำปารานา รวมถึงอาร์เจนติน่า โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย เฟรนช์ เกียน่า, เปรู และ เวเนซูเอล่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะจะอยู่ระหว่าง 24 - 28 องศา

ปลาปอด อเมริกาใต้ เป็นที่รู้จักอย่างมากเนื่องจากพวกมันสามารถพบเห็นได้ง่าย พวกมันมีความเกี่ยวโยงกันใกล้ชิดระหว่างปลาปอดอีกตระกูลหนึ่งคือ Protopteridae (ตระกูลปลาปอดแอฟริกา). คือมีรูปร่างคล้ายปลาไหล, โดยมีลำตัวคล้ายท่อ และมีเกล็ดเล็กๆ ฝังอยู่บนลำตัว. ครีบอก และ ครีบเชิงกราน มีลักษณะยาวคล้ายเส้นด้าย.

อวัยวะช่วยในการหายใจของ ปลาปอด Paradoxa คือปอด 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งจะเชื่อมต่อกับปาก ปอดข้างนี้ผนังเป็นร่อง ทำหน้าที่ให้อ๊อกซิเจนแก่เลือด. ปลาปอดทั้ง 2 กลุ่มนี้ เมื่อยังเล็ก จะมีเหงือกภายนอกลักษณะเป็นฝอยและยาว อยู่บริเวณหลังหัว โดยจะหายไปเมื่อพวกมันยาว 4 ซม (1.6 นิ้ว)

เมื่อปลาปอดอยู่ในน้ำ พวกมันจะหายใจโดยขึ้นมายังผิวน้ำ และยื่นส่วนปลายจมูกพ้นเหนือผิวน้ำ แล้วจึงอ้าปากออก จากนั้นจึงฮุบเอาอากาศเข้าไปในปอด. โดยที่จะมีโพรงจมูกภายในจะทำหน้าที่ช่วยให้พวกมันหายใจเอาอากาศที่ผิวน้ำ เข้าไปโดยไม่ต้องเปิดปาก และกลืนน้ำเข้าไป. เพราะว่าปลาปอดนั้นหายใจโดยปอดแทนที่จะใช้เหงือกเหมือนปลาทั่วไป, อากาศที่ปลาปอดหายใจเข้าไปเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พวกมันมีชีวิตรอดอยู่ได้ ถ้าหากว่าปลาปอดถูกทำให้จมลงไปใต้น้ำโดยไม่ให้มันขึ้นมาเอาอากาศที่ผิวน้ำ พวกมันก็จะจมน้ำตายในที่สุด

อายุขัยโดยเฉลี่ยของปลาปอดพาราด๊อกซ่า (ป่า) อยู่ที่ 8.3 ปี ส่วน ปลาปอดพาราด๊อกซ่าในที่เลี้ยงจะอยู่ที่ประมาณ 8.25 ปี ซึ่งจะเห็นว่าแทบไม่ต่างกันเลย

ปลาปอดพาราด๊อกซ่าในที่เลี้ยง
ปลาปอดพาราด๊อกซ่า เราอาจพิจารณาได้ว่ามันเป็นพวก กินทั้งพิชและสัตว์ (omnivores) ก็น่าจะได้เนื่องจากพวกมันกินอาหารได้แทบทุกอย่างที่มันหาได้ ไม่ว่าปลาเป็นๆ หรือปลาตาย หรือเศษซาก. ทั้งยังกินแมลง, กุ้ง, กุ้ง crayfish หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่เคลื่อนที่เร็วพอจากแรงดูดจากปากของพวกมัน. แต่อย่างไรก็ดี ลูกปลาปอดเมื่อแรกเกิดกลับเป็นพวกกินเนื้ออย่างเดียว (carnivorous)

ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาปอดชนิดนนี้ จำเป็นต้องใช้ที่ที่กว้างขวางเพียงพอเพื่อให้มันสามารถยืดตัวได้อย่างไม่อึด อัด. โดยตู้ปลาต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 48 นิ้ว (ประมาณ 55 แกลลอน) ตู้ที่ใช้ควรเหมาะกับช่วงการเจริญเติบโตของมัน. การมีพื้นที่ให้มันว่ายน้ำนั้นไม่จำเป็นเนื่องจากพวกมันเป็นปลาที่ไม่ค่อย เคลื่อนไหวมากนัก. แนวคิดที่ว่าสิ่งต่างๆไว้ให้มันเป็นที่หลบซ่อนนั้นทำได้แต่ไม่ควรรกจนเกินไป จนทำให้ไปกีดขวางทางขึ้นมาหายใจของปลาปอดได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ปลาปอดจมน้ำตายได้
อุณหภูมิที่เหมาะกับการเลี้ยงอยู่ที่ 24-28 องศาเซลเซียส (แต่ในความเป็นจริงนั้นอุณหภูมิอาจสูงกว่านั้นได้)

พฤติกรรมทางด้านสังคม
พวกมันไม่ก้าวร้าว แต่มันก็สามารถกินปลาตัวไหนก็ได้ที่มีขนาดพอดีกับปากของมัน. ถึงแม้ว่าปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับปลาปอดได้นั้น แต่ก็ค่อนข้างเสี่ยงที่จะโดนปลาปอดทำร้าย หรือทำร้ายปลาปอดก็ได้. ในกรณีที่ปลาปอดทำร้ายนั้น มันไม่ใช่มาจากความก้าวร้าวของมัน แต่เป็นเพราะให้อาหารแก่ปลาปอดนั้นไม่เพียงพอ. รวมถึงปลาปอดตัวอื่นที่อาจจะเกิดครีบหายได้

การเพาะพันธุ์
ยังไม่เคยมีการเพาะพันธุ์ปลาปอดชนิดนนี้ได้ในที่เลี้ยง ในธรรมชาติ ตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะสร้างหลุมจากโคลน พร้อมกับพวกซากพืช. หลังจากนั้นจะถอยออกมาแล้วผิดหลุมนั้น. จนถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวเต็มวัยเหล่านั้นจะไม่หายใจผ่านปอด, พวกมันไม่จำเป็นต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำแล้ว. แต่จะหายใจด้วยเหงือกที่เต็มไปด้วยก้านฝอยยื่นออกมาแทน ซึ่งจะอยู่เพียงชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น

ปลาปอดในลำดับ Lepidosireniformes (ปลาปอดอเมริกาใต้และปลาปอดแอฟริกา)
ปลา ปอดอเมริกาใต้ (Lepidosiren paradoxa) เป็นปลาปอดชนิดแรกที่ได้มีการบรรยายลักษณะไว้ (ในปี 1837 โดย Leopold J. F. J. Fitzinger) ซึ่งถูกค้นพบและจับได้จากแม่น้ำอเมซอน โดย Johann Natterer , และได้มอบให้เป็นของขวัญแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรีย ที่เป็นนักสะสมที่มีชื่อเสียงในประเทศบราซิล (ปี 1817-1835). ส่วนปลาปอดแอฟริกา ได้ถูกบรรยาย ในช่วงเวลาไม่นานหลังจากนี้ ในปี 1839 โดยนักกายวิภาคชาวอังกฤษ ที่ชื่อ Richard Owen (1810–1890), ผู้ที่เชื่ออย่างแน่วแน่ว่า ปลาปอดนั้นเป็นปลาจริงๆ หาใช่พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำแต่อย่างใด นักสัตววิทยาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ได้จำแนกบรรพบุรุษปลาปอดไว้อย่างน่าสงสัยว่า ปลาปอดนั้นมีความใกล้ชิดกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือปลากระดูกแข็งกันแน่. ในปัจจุบันได้มีการจำแนกปลาปอดไว้เป็นอีกกลุ่มต่างหากนั่นคืออยู่ใน ชั้น (class) Sarcopterygii โดยได้รวม ปลาซีลาแคนธ์ ไว้ด้วยรวมถึงฟอสซิลปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ, เพราะพวกมันใกล้เคียงและมีความเชื่อมโยงกับสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกมากกว่า พวกปลากระดูกแข็งทั้งหลาย (Actinopterygii)

ปลาปอดในลำดับ (order) Lepidosireniformes จากการเปรียบเทียบของตัวจากตัวอย่างทั้งหมดได้พบว่า มีอยู่ด้วยกัน 2 ตระกูล แต่พวกเขาได้ตัดสินใจจัดให้อยู่ในลำดับ (order) เดียวกัน โดยใช้ชื่อตระกูล (Family) ของปลาปอดอเมริกาใต้ ที่มีอยู่เพียงชนิดเดียวซึ่งเป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด เป็นชื่อลำดับ ส่วนอีกตระกูลนั้นก็คือตะกูลปลาปอดแอฟริกา (Protopterus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดนั้น ที่ได้รับการยืนยันได้แก่ P. annectens, P. aethiopicus, P. dolloi, และ P. amphibius. บางชนิดนั้นเป็นการยากในการจำแนกชนิดพวกมัน ต้องพิจารณากันโดยละเอียดทาง Taxonomic , รวมถึงความถูกต้องแน่นอนของชนิดย่อย

ความสัมพันธ์ของการวิวัฒนาการของพวกมันในแต่ละชนิดนั้นยังไม่ได้มีการศัก ษาอย่างเต็มที่นัก. Lepidosiren และ Protopterus ถูกจัดไว้อยู่ในลำดับเดียวกัน, แต่จะแยกกันชัดเจนในชั้นตระกูล (Family) พวกมันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus forsteri) และมีความสัมพันธ์กับฟอสซิลที่พบ, ในขณะที่มีการคาดว่าฟอสซิลปลาปอดที่พบนั้นยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับ จำนวนทั้งหมด (มีเพียง 60 สกุล, 280 ชนิด ที่รู้จักกันในปัจจุบัน) ปลาปอดที่ยังมีชีวิตอยุ่ในปัจจุบันนี้อาจจะเรียกพวกมันได้ว่าเป็น "ฟอสซิลที่มีชีวิต" ที่สืบสายมากจากปลาในยุคดึกดำบรรพ์, ปลาปอด มีอยู่อย่างมากมายเมื่อยุคเดโวเนี่ยน (Devonian ประมาณ 417-354 ล้านปีก่อน) และยุคไทรแอสสิก (Triassic ประมาณ 248-205 ล้านปีก่อน). ฟอสซิลที่มีความเกี่ยวข้องกับ Lepidosiren และ Protopterus (ปลาปอดอเมริกาใต้ และ ปลาปอดแอฟริกา) ซึ่งทราบจากอเมริกาใต้ และ แอฟริกา ในยุคครีเตเชียส (Cretaceous), ซึงปลาปอดในสกุล (genus) นี้ คล้ายกับ Neoceratodus, ซึ่งเป็นปลาสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

การแพร่กระจายพันธุ์
ปลาปอดอเมริกาใต้ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง มากกว่าปลาปอดชนิดอื่นที่พบในปัจจุบัน, พบในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอเมซอน และ ในระบบแม่น้ำพารานา ของปารากวัย และยังพบในเฟรนช์ เกียน่า. ในชนิด Protopterus จะพบอยู่ในพื้นที่จำกัด, P. annectens พบในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก, P. aethiopicus พบในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก, P. dolloi พบในพื้นที่จำกัดในแหล่งน้ำคองโก และ P. amphibius พบในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก

ถิ่นอาศัย
ปลาปอดอเมริกาใต้และปลาปอดแอฟริกา จะพบได้ทั่วไปในแม่น้ำที่ไหลเอื่อย, ที่เต็มไปด้วยพืช และ หนองน้ำ,​แหล่งน้ำนิ่ง (พบเฉพาะ Lepidosiren paradoxa). นอกจากนี้ยังพบในทะเลสาปเปิด (เช่น P. aethiopicus พบในทะเลสาปวิคตอเรีย). พื้นที่น้ำท่วมถึง (เช่น P. dolloi พบในลุ่มแม่น้ำคองโก และ P. annectens พบในเซเนกัล, แกมเบีย, ไนเจอร์ และ แม่น้ำโวลต้า ในแอฟริกาตะวันตก) ใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ, (P. aethiopicus ในทะเลสาปแทงกันยิกา, P. amphibius ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแซมเบซี), รวมทั้งในสระเล็กๆอีกด้วย

พฤติกรรม
ปลาปอดอเมริกาใต้ และ ปลาปอดแอฟริกา จะมีลักษณะเฉื่อยชา, โดยการว่ายน้ำจะเป็นลักษณะเคลื่อนตัวเป็นคลื่นคล้ายการเคลื่อนที่ของงู หรือโดยการคลานด้วยครีบอก และครีบเชิงกราน, โดยเฉพาะการเคลื่อนตัวไปกินซากสัตว์ที่พื้นน้ำ. ปลาปอดทั้งสองสกุลนี้ต้องหายใจด้วยอากาศ,​ไม่เหมือน ในสกุลปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus) ที่จะสามารถหายใจผ่านเหงือกแบบดั้งเดิมได้. ปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosiren) และ ปลาปอดแอฟริกา (Protopterus) ที่จะสามารถจมน้ำตายได้หากถูกบังคับให้อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา, เนื่องจากเหงือที่ผิวนอกของพวกมันไม่ขนาดไม่ใหญ่เพียงพอต่อการต้องการรับ อ๊อกซิเจนของมันได้. โดยที่ทั้ง 2 สกุลจะมีความสามารถในการจำศีล,​ โดยจะอาศัยอยู่ในโพรงที่ขุดไว้ตลอดช่วงฤดูแล้ง, และพวกมันจะตื่นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (ภาวะจำศีล (estivation) ยืนยันได้จากปลาปอดในยุคเปอร์เมียน (Permian), ที่พบในหลุมที่กลายเป็นฟอสซิล. has been documented for Permian lungfishes, in the form of fossilized burrows). อุณภูมิที่ทำให้เริ่มการจำศีลนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิด, แต่ที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนนั่นคือ P. annectens. พวกมันจะขุดโดยการใช้การกัดดิน และดันโคลนผ่านเหงือกที่เปิด. จากปลาปอดจะกลับตัวโดยหันหัวไปทางปากหลุมที่เปิดอยู่, เพื่อรับอ๊อกซิเจน. ทำให้พวกมันมีชีวิตอยู่รอดได้ ระบบการเผาผลาญพลังงานปรับลดลง สร้างเมือกเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียความชุ่มชื้น. อย่างชนิด P. aethiopicus สามารถอยู่ในรังดักแด้นี้ได้ถึง 4 ปี ในที่เลี้ยง. ปลาปอดจะไม่กินอาหารเมื่ออยู่ในภาวะจำศีล. โดยการใช้ไขมันที่สะสมไว้ที่ส่วนหาง

ปลาปอดส่วนใหญ่เป็นปลากินเนื้อ, อาหารส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (แมลง,​ตัวอ่อนของแมลง, หอย, และพวกกุ้ง) แต่ก็สามารถกินปลา และ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้เช่นกัน. ในทั้ง 2 สกุลนี้ บางครั้งจะกินพืชน้ำด้วย. ปลาปอดนั้นมีศักยภาพในการล่าเหยื่อ โดยการซุ่มรอ หรือ การตามเหยื่อ แล้วจึงจับเหยื่ออย่างรวดเร็วด้วยปากที่มีแรงดูดมากพอที่จะดูดเหยื่อเข้าไป. แต่ผู้ล่าปลาปอดเป็นเหยื่อในธรรมชาตินั้น เราทราบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น, แต่พอจะสมมติฐานได้ว่า น่าจะเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ หรือสัตว์นักล่าที่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆที่จะเป็นผู้ล่าปลาปอด, โดยเฉพาะปลาปอดที่ยังอยู่ในวัยเด็ก

ช่วงฤดูวางไข่ของทุกปี, พวกมันจะเลือกช่วงฤดูฝนไข่จะถูกผสมภายนอก. ในปลาปอดทั้ง 2 ตระกูล ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ และคอยเพิ่มอากาศเข้าไปในรัง. ตัวเมียของปลาปอดแอฟริกา จะวางไข่ในหลุม ที่ขุดโดยตัวผู้ ไข่มีขนาดเล็ก (4-7 มิลลิเมตร), ใช้เวลาในการฟัก 1-2 สัปดาห์, ซึ่งช่วงนี้พวกลูกปลาปอดจะดูคล้ายลูกอ๊อเพรียวๆ, มีเหงือกภายนอกคล้ายขนนก, หลังจากผ่านช่วงระยะนี้ไป 1 เดือน - 55 วัน ตัวอ่อนของปลาปอดจะเริ่มหายใจด้วยอากาศ. ในระยะนี้พวกมันจะมีความยาวประมาณ​ 1 นิ้ว - 1.6 นิ้ว และยังมีเหงือกภายนอกอยู่. พวกตัวอ่อนเหล่านี้จะยังไม่ค่อยเคลื่อนไหว. และยังอาศัยอยู่ในรังไม่ไปไหน จนกว่าถุงไข่แดงที่ติดอยู่จะหมดไป และพวกมันจะเริ่มออกหาอาหาร จำพวกตัวอ่อนของแมลง,พวกกุ้ง ปู และจะหายใจจากอากาศได้

ความสำคัญสำหรับมุนษย์
ปลาปอดทั้ง 2 สกุลนี้จะพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำ, ถึงแม้ว่าพวกมันจะถูกนำมาเป็นอาหารในบางพื้นที่ของแอฟริกา, แต่พวกมันก็ไม่ใช่ปลาที่นิยมนำมาเป็นอาหาร. พวกมันเป็นปลาที่ไม่มีอันตราย, แต่ถ้าหากไปรบกวนอาจจะทำให้คนที่ไปรบกวนเจ็บตัวจากการกัดได้ เนื่องจากพวกมันมีขากรรไกรที่แข็งแรงและฟันที่คมมาก



เครดิต อีกาตัวดำๆ เป็นผู้รวบรวมครับ
เครดิตครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/South_American_lungfish
http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/accounts/information/Lepidosiren_paradoxa.html
http://animal-world.com/encyclo/fresh/Misc_PseudoBony/SouthAmericanLungfish.php
http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6X16-4TCHKM5-1&_user=10&_rdoc=1&_fmt=&_orig=search&_sort=d&view=c&_acct=C000050221&_version=1&_urlVersion=0&_userid=10&md5=aa243eb19f7cc5986a74a36443107d61
http://jeb.biologists.org/cgi/content/abstract/46/2/205
http://www.neosys.ne.jp/neo/english/hg01.html
http://scienceblogs.com/laelaps/2009/02/giant_killer_lungfish_from_hel.php
http://science.jrank.org/pages/4010/Lungfish-African-South-American-lungfish.html