Tuesday, July 21, 2009

ปลาปิรันย่า ฝูงนักล่าสุดสายน้ำ


ปลาปิรันย่า ถ้าหากบอกว่า ปลาปิรันย่า นี่้ เป็นญาติกับ ปลานีออน (ปลาตัวเล็กๆในกลุ่ม เตตร้า (Tetra)ที่มีสีสันสดใส) จะเชื่อไหมครับ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ เพราะเจ้านี่อยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกันจริงๆครับ เนื่องด้วยในปลาในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1111 ชนิด (Species) และจัดเป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น ปลาปิรันย่า จะหมายถึงปลาที่อยู่ใน วงศ์ย่อย (Subfamily) Serrasalminae (serra means 'saw', 'sawed' or 'serrated', salmus means 'salmon') เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 13 สกุล 60 ชนิด มีเพียง สกุล Pristobrycon (5 ชนิด) Pygocentrus (3 ชนิด) Pygopristis (1 ชนิด) และ Serrasalmus (24 ชนิด) ซึ่งถูกจัดเป็นปลาปิรันย่าแท้จริง แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion (1 ชนิด) ด้วย
ส่วนปลาเปคู และ silver dollars ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ ไม่จัดเป็นปลาในกลุ่มปลาปิรันย่าแต่อย่างใด

ในปัจจุบันจำนวนชนิดของปลาปิรันย่า ยังไม่ค่อยแน่ชัดนักเนื่องจากยังมีการพบปลาปิรันย่า ชนิดใหม่อยู่ จนในปี 2003 จึงยอมรับกันว่า มีอยู่จำนวน 38-39 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงบางชนิดที่ยังมีข้อสงสัยกันอยู่

การแพร่กระจายพันธุ์
ปลา ปิรันย่า นั้นพบในลุ่มแม่น้ำอเมซอน: ใน โอริโนโค ​(Orinoco), ในแม่น้ำของกีอาน่า (Guyana), ในปารากวัย-ปารานา (Paraguay-Parana), และในระบบแม่น้ำเซาฟรังซีสกู (Sao Fransico) มีบางชนิดที่มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่ในทางตรงข้ามก็มีบางชนิดที่มีการแพร่ะกระจายอยู่ในวงจำกัด. อย่างไรก็ตาม ปิรันย่า ได้เคยถูกนำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา, มีบางครั้งบางคราวที่ถูกพบใน แม่น้ำโปโตแม็ค (Potomac RIver) แต่ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพหนาวจัดของบริเวณนั้น. จนเมื่อไม่นานมานี้ ปิรันย่า ได้ถูกจับได้โดยชาวประมงใน แม่น้ำคาทาวบา (Catawba RIver) ใน North Carolina นี่เป็นกรณีแรกใน North Carolina. ปลาปิรันย่าได้ถูกพบอีกครั้งที่ทะเลสาปแคปไต (Kaptai Lake) ในตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ

ลักษณะของปลาปิรันย่า
ลักษณะทั่วไปของปลาปิรันยา มีลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป
ปลาปิรันย่า โดยปกติมีขนาดตั้งแต่ 15-25 ซม. (6-10 นิ้ว) ในบางชนิดพบว่ามีขนาดถึง 41 ซม. (24 นิ้ว) เลยทีเดียว

ปลา ปิรันย่าในสกุล Serrasalmus, Pristobrycon, Pygocentrus, และ Pygopristis สามารถจำแนกได้ง่ายมาก โดยดูจากลักษณะเฉพาะของฟัน. ปลาปิรันย่าทั้งหมด มีฟันที่มีความคมเรียงกันเป็นแถวเดียวบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง; ฟันเหล่านั้นจะเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบและเชื่อมต่อกัน เพื่อใช้ในการกัดและฉีกอย่างรวดเร็ว. ฟันที่มีลักษณะเฉพาะของมันจะมีรูปแบบเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายใบมีด.ฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ปลาปิรันย่าส่วนใหญ่จะมีฟันเขี้ยวแบบสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นในสกุล Pygopristis จะมีฟันเขี้ยวแบบห้าเหลี่ยม และ ฟัน premaxillary มีอยู่ด้วยกัน 2 แถว ซึ่งจะพบได้ในปลาส่วนใหญ่ใน วงศ์ย่อย (Subfamily) Serrasalminae

นิเวศน์วิทยา
ปลาปิรันย่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเป็นอย่างมากของ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ. อย่างไรก็ตามในอาณาเขตที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึง พื้นที่ลุ่มที่มีการระบายน้ำได้ดี, ปลาปิรันย่ามีการแพร่กระจายและเป็นวงกว้าง และ แหล่งที่อาศัยมีความหลากหลายอยู่ได้ทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็น แหล่งน้ำไหล (Lotic) และ แหล่งน้ำนิ่ง (Lentic). ปลาปิรันย่า บางชนิดมีจำนวนมากในบางพืิ้นที่ และ ในหลายๆชนิด อาศัยอยู่รวมกัน. ซึ่งเป็นได้ทั้งผู้ล่า (Predators) และผู้กินซาก (Scarvengers).

ปิ รันยา เป็นที่กล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก ปลาปิรันย่า เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร ที่มีฟันที่มีความคมมาก ปิรันยามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นร้อยหรือเป็นพันๆตัว เมื่อกินอาหาร จะใช้วิธีล่าเหยื่ออย่างหิวกระหาย โดยการพุ่งเข้าโจมตี อย่างรวดเร็ว แล้วรุมกัดแทะ. ความคิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากความเชื่อในอดีตเกี่ยวกับ ปิรันย่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการนำเสนอความคิดนี้ขึ้นมาว่า แท้จริง การรวมตัวกันเป็นฝูงของพวกมันนั้นเป็นกลไกเพื่อป้องกันตัวพวกมันเองจาก ผู้ล่าตามธรรมชาติ เช่น ปลาโลมาแม่น้ำ จระเข้เคแมน และ อะราไพม่า หาใช่รวมฝูงกันเพื่อโจมตีเหยื่อแต่อย่างใด

ความสัมพันธ์ระว่างปิรันย่ากับมนุษย์
คนในท้องถิ่นจะใช้ฟันของปิรันย่า เป็นเครื่องมือและอาวุธ. ชาว "อินเดียน" ใน "กิอานา" ได้ใช้เป็นอาวุธ โดยนำฟันของปิรันยามาทำเป็นใบมีดหรือหัวของลูกธนู ปิรันย่าเป็นอาหารที่ผู้คนท้องถิ่นชื่นชอบ, ในการจับปิรันย่าด้วยเบ็ดบางครั้งปิรันย่าเคราะห์ร้ายตัวนั้นอาจจะถูกโจตี โดยปิรันย่าตัวอื่นๆ
ปิรันย่าเป็นปลาที่ชาวประมงท้องถิ่นใช้ในการบริโภค เพื่อยังชีพ และนำไปขายเป็นอาหารในตลาดท้องถิ่น. ในช่วง 10 ปีท่ี่ผ่านมานี้, พวกมันถูกนำไปตากแห้งเพื่อทำเป็นของที่ระลึกขายให้แก่นักท่องเที่ยว. ปิรันย่า จะโจมตีเป็นบางครั้ง และ บางเวลาอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ, แต่การตั้งใจโจมตีจริงๆ นั้นค่อนข้างยาก นอกเสียจากว่าจะถูกคุกคามโดยพวกคนที่ไปท้าทายหรือแหย่มัน เช่นเอามือลงไปในน้ำ. การกัดมนุษย์ของปลาปิรันย่า หากพิจารณากันแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ระวัง หรือโชคร้าย. แต่ปลาปิรันย่า จะถูกคุกคามเสียมากกว่าที่มันจะคุกคามมนุษย์ ไม่ว่า ทางการค้า และ เกมส์ตกปลา เนื่องจากว่า พวกมันขโมยเหยื่อ, การสร้างความเสียหายให้แก่ตาข่าย และ เครื่องมือ และบางครั้งมันก็กัดเมื่อไปจับมัน

ปิรันย่า หลายชนิด ถูกจับไปขายในตลาดปลาสวยงาม. ปิรันย่า สามารถหาซื้อเป็นปลาเลี้ยงได้ในบางพื้นที่, แต่พวกมันไม่ได้รับอนุญาติให้ค้าในส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา. ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันย่าแดง Pygocentrus nattereri. หรือ red-bellied piranha. ปิรันย่า สามารถหาซื้อได้ไม่ว่าขนาดโตเต็มที่ หรือ ขนาดวัยเด็กขนาดไม่ใหญ่กว่าหัวแม่มือ. ในการเลี้ยงนั้น ปิรันย่า สกุล Pygocentrus ควรเลี้ยงตัวเดียว หรือไม่ก็เป็นกลุ่ม 3 ตัวขึ้นไป, ไม่ควรเลี้ยงเป็นคู่, การคุกคามของมันนั้นมันแพร่กระจายได้กว้างมาก และจะอยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ปลาตัวที่อ่อนแอมีชีวิตอยู่รอดได้. อาหารของพวกมันได้แก่กุ้ง เนื้อปลา. ในปลาเล็กๆนั้นอาจจะให้อาหารเม็ด หรือเหยื่อที่มีขนาดเล็กๆ ซึ่งพวกมันสามารถฆ่าได้. หนอนแดง หรือ ตัวอ่อนแมลง น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ในปลาขนาดใหญ่ การให้ปลาทองดูเหมือนจะเป็นเหยื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก. ปิรันย่านั้นต้องการสภาพแวดล้อมที่มืดๆ มีพืชน้ำปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดการตื่นของปลา. และไม่ควรใช้แสงในตู้สว่างมากนัก เพราะจะทำให้ปลาไม่อยากกินอาหาร

เนื่องจากปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ในพื้นที่เขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากสามารถหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ปลาปิรันยาเป็นสัตว์น้ำที่ห้ามมิให้มีไว้ในครอบครอง หรือนำเข้ามาในประเทศ




เครดิต คุณ อีกาตัวดำๆ ครับจากเวปพี่ต้น rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=244&action=view

Thursday, July 16, 2009

หอยเขา Horned Nerite Snail: Clithon corona


หอยเขา Horned Nerite Snail: Clithon corona
ข้อมูลทั่วไป
หอยเขามีชื่อมาจากเขาที่อยู่บนเปลือก มันจะมีสีดำและเหลืองปนเป็นลางเส้นสลับไปมา เปลือกของหอยเขาจะแข็งมากและเขาเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันตามธรรมชาติ มันเป็นสัตว์รักสงบและจะไม่ไปยุ่งกับสัตว์อื่นๆ ในตู้

การเพาะพันธ์
จุด ด้อยของหอยเขา และหอยสาย Nerite อื่นๆ คือไม่สามารถขยายพันธ์ในน้ำจืดบริสุทธิได้ หอยเขาต้องการน้ำกร่อยเพื่อขยายพันธ์ นักเพาะพันธ์บางคนสามารถเพาะมันได้ แต่ดูเหมือนลูกหอยจะมีชีวิตได้ไม่นาน บางคนอาจเห็นจุดนี้เป็นข้อดี เพราะมันหมายความว่าหอยจะไม่ขยายพันธ์จนล้นตู้


รูปร่างหน้าตา
หอย เขาเป็นหอยสาย Nerite ขนาดเล็ก ขนาดเฉลี่ยอยู่ที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1ส่วน4 นิ้ว แต่ตัวแก่อาจใหญ่ได้ถึง 1ส่วน2 นิ้ว มันจะมีสีดำและเหลืองปนเป็นลางเส้นสลับไปมา เมื่อหอยโต ลายเส้นจะขยายใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อยๆ หอยเขาบางตัวอาจมีลายเส้นที่แปลกและลายสลับที่แตกต่างออกไป

เขา
เขา ของหอยเขาจะขี้นโดยสุ่มและไม่มีจุดตายตัว สิ่งที่กำหนดจุดและขนาดของเขายังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด และยังไม่แน่ว่าเขาจะงอกยาวขึ้นเรื่อยๆเมื่อหอยแก่ตัวลงหรือไม่ เขาจะปรากฏที่จุดเริ่มตรงหลังของเปลือก การจับควรกระทำด้วยความระวัง เนื่องจากเขาอาจทิ่มมือได้

การให้อาหาร
แม้หอยเขาจะตัวเล็ก แต่ความสามารถในการกินตระไคร่นั้นสูงทีเดียว หอยพวกนี้จะทำความสะอาดตู้กระจกจนเรี่ยมและกินตระไคร่ที่ติดตามหินและใบไม้ อีกด้วย ขนาดที่เล็กทำให้มันเหมาะแก่การปีนไปกินตะไคร่ตามใบไม้ หอยเขามีน้ำหนักเบาและจะไม่ตกจากใบไม้ ข้อแนะนำคือควรให้อาหารเสริมหอยเขาเป็น algae wafers หรืออาหารเสริมอย่างอื่นเมื่อเลี้ยงในตู้

พฤติกรรม
หอยเขาจะ ปีนออกนอกตู้ มันเป็นหอยชนิดที่ไปตามน้ำและสามารถอยู่นอกน้ำได้เป็นเวลาชั่วคราว ให้คอยตามจับมันกลับลงตู้ ข้อแนะนำให้คอยจับตามองไว้ให้ดี บางคนสันนิฐานว่าหอยจะหนีต่อเมื่อมันไม่สบายกับสภาพในตู้หรือเกิดอาการ เครียด



เครดิตคนแปล คุณ fall จาก clubaqua ครับ
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=42172.0

Tuesday, July 14, 2009

"ชะโด" เพชฌฆาตลุ่มแม่น้ำไทย


ชื่อไทย ชะโด, แมลงภู่, อ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ GIANT SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa micropeltes
ถิ่นอาศัย ในแม่น้ำ และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
สภาพภูมิอากาศ: เขตร้อน 25 – 28 ํC
อาหาร กุ้ง ปลา สัตว์น้ำต่างๆ

ชะโด เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน Channidae โดยชะโดจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 ก.ก. มีฟันแหลมคมมาก ห่างกันเป็นซี่ๆและมีฟันละเอียดอยู่ระหว่างช่องฟันหลักๆ ไว้ใช้จับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ ไม่สามารถที่จะดิ้นหลุดไปได้ เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อมีขนาดโตขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตรสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวครามอมน้ำตาลคล้ายสีของ เปลือกหอยแมลงภู่แทน

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า " ชะโด " หรือ " อ้ายป๊อก " เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า " แมลงภู่ " ตามสีของลำตัว

นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อยๆ ในช่วงนี้ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า " ชะโดตีแปลง "

เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเชีย อินเดีย อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ด้วย

ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่ น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ

นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก



เครดิต คุณ tum_kung29@hotmail.com จากเวปพี่ต้น Rof นะครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=128&action=view
ที่มา http://fisc.er.usgs.gov/Snakehead_circ_1251/html/channa_micropeltes.html

Thursday, June 25, 2009

Family: Osteoglossidae (Arowanas) Ord


Family: Osteoglossidae (Arowanas)
Order: Osteoglossiformes (bony tongues)
Class: Actinopterygii (ray-finned fishes)
FishBase name: Asian bonytongue
ลักษณะ - ปลาน้ำจืดโบราณ ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ในที่เลี้ยงก็ได้เต็มที่ราวๆเกือบ 30 นิ้ว(ตู้ใหญ่ๆหรือบ่อ) ส่วนในตู้กว้าง 24 นิ้ว ปลาก็ยาวได้ราว 25-26 นิ้วเต็มที่ ส่วนมากก็ได้ 20นิ้วเศษๆ
รูปร่าง - ลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครับก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหมวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่
อุปนิสัย - ค่อนข้างก้าวร้าว ในตู้ขนาดไม่ใหญ่นักควรจะเลี้ยงตัวเดียว บางกรณีจะเลี้ยงรวมได้ แต่ตู้ต้องใหญ่ซักหน่อย อย่างน้อย 70*30*30 ปลาอโรซัก8-9 ตัว ขนาดไล่เลี่ยกัน อาหารสมบูรณ์ และการสังเกตการที่ดี เพราะปลาแต่ละตัวดุไม่เท่ากัน ตัวที่อ่อนแออาจเจ๊บหนักถึงตายได้ แต่ยังไงๆปลาก็มักจะมีตำหนิครีบแตกเกล็ดหลุดอยู่ดีครับ และพอมันโตๆกันแล้วคงแน่นดีพิลึก อาจจะเลี้ยงได้ไม่ตลอดด้วยครับ ของเสียของปลาจะเยอะจนต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ และไม่แนะนำให้เลี้ยงอโรเอเชียจำนวนน้อยๆสองสามตัวรวมกันนะครับ กัดกันกระจุยแน่นอน
การสืบพันธ์ - ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่น ๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็น ตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย มีบางท่านเพาะพันธ์ได้ในตู้ขนาดใหญ่มากๆ แต่ปลาเพาะส่วนใหญ่ได้มาจากบ่อดินหรือบ่อปูนใหญ่ที่ปล่อยพ่อแม่พันธ์ลงไป หลายสิบคู่ แล้วปล่อยให้ปลาจับคู่กันเอง
การเลี้ยงดู - ขนาดปลาสัมพันธ์กับขนาดตู้ เนื่องจากอโรเอเชียจะมีเกล็ดใหญ่ การกลับตัวจะต้องใช้พื้นที่มากว่าอโรวาน่าเงินหรืออโรวาน่าดำ ที่ลำตัวอ่อนช้อยกว่า ตู้ปลาจึงควรกว้างซักหน่อย เถียงกันไปมาว่าตู้ขนาดไหนเหมาะที่สุดที่จะเลี้บงอโรวาน่าได้ตลอดชีวิต คำตอบส่วนมากคือตู้ขนาด 60*24*24 ลดน้ำ 4 นิ้ว กรองนอกตู้ แต่ในสภาพการเลี้ยงจริง ตู้ขนาดดังกล่าวจะใช้กระจกหนา2หุนครึ่งขึ้นไป ซึ่งแพงกว่าตู้หนา2หุนพอสมควร ทำให้ราคาตู้ขนาดดังกล่าวโดขึ้นไปถึงประมาณ 4000 บาท ซึ่งหลายๆคนก็หันมาใช้ตู้ 60*20*20 กระจก 2 หุน กรองข้างหรือกรองนอกตู้ และบางท่านก็เลี้ยงอโรในตู้ 48*20*20 ไปตลอดชีวิตปลาเป็นสิบปีก็มี ครับ ตู้ใหญ่ย่อมได้เปรียบและดีต่อปลา แต่ตู้ขนาด 48*20*20 น่าจะเป็นขนาดเล็กสุดที่*รับได้สำหรับทั้งปลาทั้งคนเลี้ยงครับ เพราะปลาขนาด 20 นิ้วคงอึดอัดพอสมควรกับตู้ที่เล็กกว่านี้
อาหาร - ในธรรมชาติกินปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในที่เลี้ยงก็ให้ปลาเหยื่อ หนอนนก เขียด กบ กุ้งฝอยเป็นและตาย ตอนขนาดไม่เกิน 5 นิ้วก็ให้ไรทะเลก่อน จนกว่าจะโตได้ที่ค่อยให้อาหารอื่นๆ พวกเนื้อหมู เนื้อไก่ก็กินได้ แต่ไม่ดีเพราะจะย่อยยาก และทำให้น้ำเสียง่าย
อโรอดอาหารได้เป็นเดือน บางทีเอามาลงตู้ใหม่ๆ ปลาไม่กินอะไรก็อย่าเครียดก่อนปลานะครับ

อุณหภูมิที่เหมาะสมก็ 24-30 องศา ที่บ้านเราหน้าร้อนจะร้อนกว่านั้นนิดหน่อย ไม่เกิน 33 พอรับได้ เกินนี้ควรหาทางลดอุณหภูมิบ้าง

ข้อ ควรระวัง - อโรกระโดเก่ง ปิดฝาตู้นะครับ ถ้าเลี้ยงบ่อต้องมีฝาปิด หรือขอบบ่อสูงซักฟุตครึ่งกันเหนียวครับ การโดดลงไปตายในช่องกรองข้างเป็นเรื่องปกตินะครับ หาอะไรมาปิดไว้ก็ดีครับ

ใแห ล่งที่พบ - นธรรมชาติปลาชนิดนี้เหลือน้อยเต็มที ในไทยแทบๆจะไม่เจอตัว แหล่งต้นกำเนิด Indonesia, Malaysia, Thailand, Cambodia และ Viet Nam.

โรคที่เจอบ่อยๆ
- เกล็ดพอง สาเหตุ คุณภาพน้ำแย่มาก ติดเชื้อจากอาหาร ติดเชื้อภายใน เป็นเมื่อไรถามหมอรอฟครับ
- ตาขุ่น เหตุ น้ำไม่สะอาด ปลาว่ายเอาตาไปถูผนังตู้ สายออกซิเจนจนติดเชื้อ หมั่นขัดผนังตู้ เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้นอีหน่อยก็หายเองได้
- เหงือกบาน เหตุ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น้ำเย็นไป ออกซิเจนน้อย เลี้ยงปลาในตู้แคบเกินไป บางกรณีที่แก้ไขที่ต้นเหตุได้ ปลาจะอาการดีขึ้นหรือหายเหงือกบานเอง บางทีไม่หายก็ต้องตัดเหงือกอ่อนทิ้ง ถามหมอรอฟได้เช่นกัน
- หนวดปลาหมึก เกิดจากตู้เล็ก ปลาอึดอัด เอาหนวดถูตู้ ตู้ไม่สะอาด เลยติดเชื้อ แก้ที่สาเหตุอาการจะดีขึ้น
- ปรสิต พวกหนอนสมอ ทำให้เกิดการระคายเคือง
เป็นโรคอะไรถามหมอรอฟได้ที่เวปนี้ครับ

การเปลี่ยนน้ำ - ประมาณอาทิตย์ละครั้งที่ราว 20-30 เปอร์เซน

อย่าใส่ยาในกรณีที่ปลาไม่ป่วย อโรวาน่าแพ้ยามาลาไคท์กรีนอย่างรุนแรงและทำให้ถึงตาย

สายพันธ์ มีมากมาย บางทีก็เรียกต่างๆกันไป
- ทองอ่อน
- เขียว
- เรดบี หรือแดงเกรดสอง
- ทองอินโด
- ไฮแบค ลูกผสมทองอินโดกะมาเลย์
- อโรแดง
- ทองมาเลย์
และ ยังมีชื่อย่อยๆอีกหลายชื่อ จะซื้อก็ศึกษาก่อนซื้อครับ ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อกะเจ้าของเวปนี้แหละ คัดปลาดี แข็งแรง ราคาถูกเมื่อเทียบกะตลาดกลาง
รูปภาพ - เนื่องจากกลัวเวปเต็ม ลองหารูปดูจากกระทู้ในเวปนี้แหละครับ มีทุกสายพันธ์ให้ชม

เพื่อนร่วมตู้
อโร วาน่าเลี้ยงกะปลาอื่นๆได้ครับ เช่นพวกบิเซีย เสือตอ การ์ต่างๆ แคทฟิชหลายชนิด นกแก้ว ตะเพียน อินซีเนต ปลาหมอบางชนิด ปลากระทิง และอื่นๆอีกมากมายมากมาย หาอ่านดูได้จากกระทู้เก่าๆเช่นกันครับ นิสัยของอโรบางตัวก็อยู่กะเมทได้มากมาย บางตัวก็ไล่กัดเขาไปทั่ว เล่นถึงตายก็มี ต้องลองกับปลาคุณเองครับ ว่าเขาชอบแบบไหน

หลักๆคือ อย่าให้อยู่กะปลาที่ดุมากๆ ใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าอโรมากๆ อย่าให้ปลาอโรเล็กกว่าปลาในตู้จนเกินงาม อย่าให้เพื่อนร่วมตู้เล็กกว่าปากอโรวาน่า ไม่ควรรวมกับปลาอื่นที่ว่ายระดับผิวน้ำ เพราะอโรจะไล่งับเอา ปลาที่ว่ายระดับใกล้พื้นตู้จะอยู่กะอโรได้ดีกว่า และปลาที่รวมกะอโรควรเอาตัวรอดได้ เช่น หนังหรือเกล็ดหนา ว่ายน้ำเร็ว ซ่อนเก่ง หรือหุ่นใกล้เคียงกับอโรของเราครับ
1 ทองมาเลย์
2 ทองอินโด
3 แดงอินโด/blood red/ chilli red
4 เขียวมาเลย์

เขียวครับ


chilli red


blue/purple base


RTG/ทองอินโด


Red B


็ำHigh Black


Blood Red หรือ แดงอินโด


ทองมาเลย์ Blue base งามๆ


ทองอ่อน


ส่วน สี อื่นๆ ก็เป็นการครอสบรีดระหว่างสายพันธุ์กันมาเรื่อย เช่น blue/purple base ก็เป็น ทองมาเลย์ ผสม ทองอินโด เป็นตัน
แล้วแต่ฟาร์ม แล้วแต่คนขาย ว่าจะเรียกว่าอะไร

นำมาจากเวปพี่ต้น Rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=81&action=view

Tuesday, June 23, 2009

Thalassophryne amazonica สัตว์ประหลาดยุคดึกดำบรรพ์

ก่อนจะเข้าเรื่องเกี่ยวกับเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้เราลองมาทำความรู้จักปลาในกลุ่มนี้กันก่อนดีกว่านะครับ

ปลาในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae (Toadfish)) ถูกเรียกชื่อนี้เนื่องจากพวกมันมีสีที่ไม่เป็นระเบียบ ดูสกปรกเลอะเทอะดูค้ลายกับคางคกบก (คำว่า Batrachus ในภาษากรีกหมายถึง กบ) พวกมันมีอยู่ด้วยกัน 79 ชนิด ใน 21 สกุล ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล ในส่วนของการแพร่กระจายพันธุ์จะพบได้บ้างในเขตน้ำกร่อย และใน สกุล Thalassophryne จะมีชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ในอเมริกาใต้ ซึ่งก็คือชนิด Thalassophryne amazonica (Prehistoric Monster fish).
ปลากลุ่มปลาคางคก นี้ มีวิธีการล่าเหยื่อยแบบซุ่มโจมจี (Ambush) พวกมันจะชอบฝังตัวกับพื้นทราย ด้วยสีที่ดูเลอะเทอะไม่สะดุดตาช่วยให้มันหลบพ้นจากสายตานักล่าชนิดอื่นๆได้ เป็นอย่างดี. หนามแหลมบริเวณหลังและหนามแหลมบริเวณส่วนคลุมเหงือกของปลากลุ่มนี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Thalassophryne จะมีเป็นท่อซึ่งสามารถฉีดพิษไปยังนักล่าที่ต้องการที่จะล่าพวกมันเป็นอาหาร
ปลา คางคกนี้เรารู้กันว่าพวกมันสามารถส่งเสียงร้องได้ ในตัวผู้จะมีการใช้ถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ ในการทำให้เกิดเสียงเพื่อดึงดูดตัวเมีย.

ลักษณะรูปร่าง : ปลาคางคก เป็นปลาไม่มีเกล็ด โดยที่ตาอยู่ด้านบนของหัวที่มีขนาดใหญ่. ปากมีขนาดใหญ่ รับกับ Premaxilla และขากรรไกรบน (Maxilla). เหงือกมีขนาดเล็กและมีเพียงข้างละอัน, มีหนามแหลม 1 เส้น พร้อมกับเส้นครีบอ่อนๆจำนวนมาก.


การแพร่กระจาย พันธุ์ : สามารถพบได้ในทะเลทั่วโลก มีเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่อาศัยออยู่ในแหล่งน้ำจืด เช่น Daector quadrizonatus ที่พบในโคลัมเบีย, Potamobatrachus trispinosus ที่พบในอเมซอน รวมถึงเจ้า Thalassophryne amazonica ก็เป็นชนิดน้ำจืดที่พบในแม่น้ำอเมซอนเช่นกัน

พฤติกรรม : ปลาคางคก จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นใต้น้ำ ขอบเขตตั้งแต่แถบชายฝั่งไปจนถึงทะเลลึก. ปลากลุ่มนี้เป็นพวกกินไม่เลือก (Omnivorous) เหยื่อก็ได้แก่ หนอนทะเล, สัตว์กลุ่มกุ้ง ปู, หอย รวมถึงปลาที่มีขนาดเล็ก. พวกมันจะหลบซ่อนอยู่ตามรอยแตกของหิน หรือ ขุดพื้นทรายเพื่อซ่อนตัวล่าเหยื่อ
ตัว ผู้จะสร้างรังและคอยปกป้องไข่หลังจากที่ตัวเมียทำการวางไข่แล้ว. ในปลาตัวผู้จะดึงดูดความสนใจตัวเมียด้วยการส่งเสียงร้อง โดยการปล่อยอากาศโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อของถุงลม. เสียงจะฟังคล้ายเสียงฮัม หรือ เสียงผิวปาก

ทีนี้มาเข้าเรื่องของพระเอกของงานกันบ้างนะครับ

เจ้ามอนสเตอรฟิช มีญาติร่วมสกุล (Genus) อยู่ด้วยกัน 6 ชนิด และมีสมาชิกร่วมวงศ์ (Family) อยู่ด้วยกัน 79 ชนิด
สกุล Thalassophryne มีดังนี้
Thalassophryne amazonica (Monster fish)
Thalassophryne maculosa (พบอาศัยอยู่แถบชายฝั่ง-เขตน้ำลึกตั้งแต่ 1-200 เมตร)
Thalassophryne megalops (พบอาศัยอยู่ในทะเล ที่ระดับความลึก 77- 183 เมตร)
Thalassophryne montevidensis (พบอาศัยอยู่ในทะเล)
Thalassophryne nattereri (พบอาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย และ ทะเล)
Thalassophryne punctata (พบอาศัยอยู่ในทะเล)
จะเห็นได้ว่า เจ้า Monster Fish เป็น Thalassophryne เพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด

ชื่อ "Prehistoric monster fish" อันแปลกประหลาดของมันทำให้มันดูเป็นที่สนใจกว่า ปลากลุ่มปลาคางคกชนิดอื่น (batrachoidid) จากอเมริกาใต้.

ชื่อเรียกกันทั่วไป Prehistoric monster fish
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ เปรู บราซิล และ เอกวาดอ; Rio Conambo, Corriantes and Shiona.
ขนาดโตเต็มที่ 10-15 ซม. (4-6 นิ้ว)
น้ำ : สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำนิ่งได้ดี และสามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่เป็นกรดและมีความกระด้างเล็กน้อย รวมถึงน้ำที่เป็นด่าง (pH อยู่ในช่วง 6.5 -7.5)
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
อาหาร ได้แก่ ปลาหรือกุ้งโดยเฉพาะที่แช่แข็ง. ผู้เลี้ยงบางคนอาจจะให้อาหารชนิดอื่นๆแทนกุ้ง,ปลามีชีวิต ก็สามารถทำได้
ลักษณะ นิสัย : ค่อนข้างขี้อาย และ ชอบหลบซ่อน. และใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันไปกับการมุดตัวลงไปในทราย. พวกมันเป็นนักล่าที่โหดเ *** ้ยมและจะคอยจับปลาเล็กๆที่ผ่านหัวมันไป
ตู้ เลี้ยง : ควรเป็นตู้ที่มีทรายปูพื้นค่อนข้างหนาที่จะให้มันสามารถซุกตัวลงไปได้. ทรายควรเป็นทรายละเอียดหนาประมาณ 5-8 ซม. (2-3 นิ้ว).
เจ้ามอนสเตอร์ฟิช นี้ ไม่จำเป็นต้องมีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเลี้ยงมันก็ได้. สำหรับในตัวเต็มวัย 1 คู่ สามารถเลี้ยงได้อย่างสบายในตู้ขนาด 24 นิ้ว
เพศ: การแยกเพศทำได้ยาก นอกจากการดูขนาดของมัน คือ ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้.
แทงค์เมท : ควรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของเจ้านี่

เป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มสนใจที่จะเลี้ยงเจ้านี่กันหรือยัง สำหรับผมขอบอกว่าเจ้านี่น่าเลี้ยงเอามากๆเลยครับผม

ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ ในบทความนี้จะมีศัพท์คำหนึ่งที่ผมใช้ทับศัพท์ไปเพราะหาความหมายมันไม่ได้ เลยให้ดูรูปประกอบแทนแล้วกันนะครับ

Premaxilla


เครดิตคุณ อีกาตัวดำๆ จากเวปพี่ต้น Rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=208&action=view

Monday, June 22, 2009

เต่าหมูบิน( Fly River Turtle )


เต่าหมูบิน Fly River Turtle
ชื่อสามัญ : Fly River turtle, Pig-nosed turtle,Pig Nose Turtle
Pitted-shell turtle , New Guinea Plateless Turtle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carettochelys insculpta
ถิ่นกำเนิด : ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย New Guinea
สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย : ทะเลสาบ บึงขนาดใหญ่ แม่น้ำที่มีกระแสน้ำไม่รุนแรง
ลักษณะโดยทั่วไป :
ด้วยรูปร่างหน้าตาที่ออกจะคล้ายเต่าทะเลมาก เพราะชีวิตความเป็นอยู่
ของ Fly River จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในน้ำ โครงสร้างต่างๆทางร่างกายจึงเป็นลักษณะให้เอื้อ
แก่การว่ายน้ำเท่านั้น ส่วนแขนขาจะไม่มีนิ้วเหมือนเต่าน้ำชนิดอื่นๆ(แต่มีเล็บ)
สีกระดองจะเป็นสีเทา ใต้กระดองจะมีสีขาวอมชมพู หดแขนขาเข้ากระดองไม่ได้
เพราะส่วนผิวหนังจะติดกับกระดองอ่อนอย่างเห็นได้ชัด หน้าตาแน่นอนว่าต้องมีส่วนที่คล้ายหมู
นั้นคือจมูกที่ใหญ่(Pig Nose)มีรูจมูกที่กว้างเพื่อใช้รับกลิ่นและดมหาอาหารใต้น้ำ
ตาสีดำกลมโต(แต่สายตาไม่ค่อยดีเท่าไหร่) ส่วนปากจะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมากเพื่อขบกัด
และช่วยฉีกเนื้อสัตว์(แข็งและคมมาก)

เพศ : ตัวผู้จะมีส่วนหางที่ใหญ่ยาวกว่า ตัวเมียจะมีส่วนปลายหางที่สั้นแหลมและเล็กกว่า(ดูจากรูป) โตเต็มวัยจะอยู่ที่ 17-22 นิ้ว
อายุ : อยู่ในช่วง 25-30 ปี

อาหาร : เนื้อสัตว์ เนื้อกุ้ง เนื้อปลาตาย(เมนูแนะนำ) อาหารเม็ด ผัก ผลไม้

การเลี้ยงดู :
เต่าหมูบิน เต่าจมูกหมู เป็นเต่าที่อยู่ในน้ำตลอดเวลา กินนอนในน้ำ สถานที่เลี้ยงควรเป็นบ่อน้ำลึก
พอประมาณ ไม่ตื้นจนเกินไป(ควรมีที่กั้นสูงอย่างดีเพราะอาจจะปีนออกมาเดิน เล่นเป็นเพื่อนสุนัขที่บ้านได้) ถ้าเลี้ยงในตู้กระจกควรเป็นตู้ทรงสูง เพื่อ รองรับการว่าย(บิน)ของเต่าที่ชอบว่ายไปมา
อาจจะออกแบบให้ตู้โล่งๆ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด หรือมีทราย หรือหิน ให้ เพราะเต่าบินชอบฝังตัวในทราย(เหมือนตะพาบ) ไม่เหมาะเลี้ยงในตู้หรือ อ่างๆแคบๆ เพราะเต่าจะโตช้าและเครียดได้ เต่าจะว่ายขึ้นมาหายใจเป็นระยะ หา กินเวลากลางคืน หากมันว่ายไปมา ดมๆพื้นตู้
นั้นแสดงว่ามันกำลังหาอาหาร อาหารสดเป็นๆ จำพวก ลูกปลาต่างๆนั้น เต่าไม่ สามารถจับมากินได้มากนักเนื่องจากความเชื่องช้าในการล่า(ไม่ใช่เต่านัก ล่า) ควรให้เนื้อปลา เนื้อกุ้งที่ตายแล้วมากกว่าให้มันล่าเอง อาจจะบอกได้ ว่าเต่าบินเป็นเต่าที่มีจมูกที่ไว แต่สายตาแย่ เพราะหากมีกลิ่นอาหารมันจะดม หาและตามกลิ่นได้ดีกว่ามองด้วยตามันเอง กินทุกอย่างที่อยู่ก้นตู้ เต่าบิน เป็นเต่าที่ต้องรักษาความสะอาดของน้ำมากพอสมควร เพราะหากเกิดการหมักหมมของ น้ำ ที่มีระบบกรองที่ไม่ดี
หรือไม่ได้เปลี่ยนน้ำให้สะอาดสม่ำเสมอ ขี้เต่าหรือของกินที่เต่ากิน เหลือ ความสกปรกของน้ำ จะมีผลทำให้กระดองเต่าเกิดคราบสกปรก ทำให้เต่าเกิดมี แผลเปื่อยลอกของกระดองและผิวหนัง การดูแลที่ดีที่สุดคือรักษาน้ำให้สะอาด

จากที่ได้เลี้ยงมา ก็เป็นเต่าที่เลี้ยงง่ายครับ ไม่กวน ทำตัวน่ารักกับคน เลี้ยง กินง่าย นอนน่ารัก(สุดๆ) ว่ายน่ารัก แต่ไม่น่ารักกับเพื่อนร่วมตู้ เท่าไหร่ โดยนิสัยแล้วเต่าบินดุครับ หากต้องการเลี้ยงรวมกันหลายตัวมักจะกัด กัน ตัวใหญ่รังแกตัวเล็ก ไล่กัด ไล่งับปลาตัวอื่นที่เลี้ยงรวมกัน(แต่ก็เป็น เฉพาะบางตัวนะครับ) หากต้องการเลี้ยงเต่าบินร่วมกันคงต้องใช้ตู้ขนาด ใหญ่ เพราะเต่าสามารถว่ายไปมาได้อย่างเต็มที่ การกัดกันเองก็จะลดลงหรือไม่ มีเลย ส่วนปลาที่จะเลี้ยงรวมไปในตู้ด้วยกัน ควรเป็นปลาที่ว่ายเร็ว ไม่เหมาะ กับปลาที่ว่ายช้าๆ (หางปลาแหว่งแน่ๆครับ) ผมเลี้ยงรวมกับปลาเสือตอครับ
เต่าบินกินทุกอย่างที่มันดม เจอและคิดว่าเป็นอาหาร แม้แต่อึมันเองมันก็งับ กิน(ตักออกแทบไม่ทัน) ระบบกรองที่ดีจะทำให้น้ำสะอาด ผมไม่นิยมให้อาหารเม็ด กับผักครับ เพราะทำให้น้ำมีสีเขียว
และมีเศษฝุ่นฟุ้งกระจายมากทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากขึ้น ส่วนใหญ่จะให้เนื้อกุ้ง เนื้อปลา มันกินเหลือก็ตักออก(ส่วนใหญ่กินหมด)

พูดถึงความนิยมในเต่าชนิดนี้ผมคิดว่ามีพอสมควรเพราะความน่ารักโดยเฉพาะคุณ ผู้หญิง ราคาก็ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับเต่านอกชนิดอื่นๆ การหามาเลี้ยง นั้นอาจจะอยู่ในช่วงฤดูที่มีการนำเข้ามา
(แล้วไม่ถูกจับ ฮ่า) อัตราการเติบโตก็ไม่ได้โตเร็วมากนัก ปีนึงอาจจะโตแค่ 1-2 นิ้ว
ซึ่งเหมาะแก่การดูแลเลี้ยงให้อยู่ในระยะยาวได้โดยที่ไม่เบื่อ(เหมือนเต่าน้ำ น่าสงสารบางชนิดที่โตแล้วคนก็เบื่อ) ยังไงถ้าสนใจเลี้ยงหรือมีไว้ครอบครอง ดูแลแล้ว ก็รักษามันไว้ให้ดีๆนะครับ


เพศผู้ครับ

เพศเมียครับ






เครดิตคุณ Jiwpaethong จาก
http://www.siamreptile.com/webboard/webboard_show.php?id=22068
http://www.tortoise.org/archives/pignose.html
http://flyriverturtle.com/default.html
http://www.austinsturtlepage.com/Care/caresheet-fly_river_turtle.htm
http://homepage3.nifty.com/yoshina/modoki/