Thursday, June 25, 2009

Family: Osteoglossidae (Arowanas) Ord


Family: Osteoglossidae (Arowanas)
Order: Osteoglossiformes (bony tongues)
Class: Actinopterygii (ray-finned fishes)
FishBase name: Asian bonytongue
ลักษณะ - ปลาน้ำจืดโบราณ ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ในที่เลี้ยงก็ได้เต็มที่ราวๆเกือบ 30 นิ้ว(ตู้ใหญ่ๆหรือบ่อ) ส่วนในตู้กว้าง 24 นิ้ว ปลาก็ยาวได้ราว 25-26 นิ้วเต็มที่ ส่วนมากก็ได้ 20นิ้วเศษๆ
รูปร่าง - ลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครับก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหมวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่
อุปนิสัย - ค่อนข้างก้าวร้าว ในตู้ขนาดไม่ใหญ่นักควรจะเลี้ยงตัวเดียว บางกรณีจะเลี้ยงรวมได้ แต่ตู้ต้องใหญ่ซักหน่อย อย่างน้อย 70*30*30 ปลาอโรซัก8-9 ตัว ขนาดไล่เลี่ยกัน อาหารสมบูรณ์ และการสังเกตการที่ดี เพราะปลาแต่ละตัวดุไม่เท่ากัน ตัวที่อ่อนแออาจเจ๊บหนักถึงตายได้ แต่ยังไงๆปลาก็มักจะมีตำหนิครีบแตกเกล็ดหลุดอยู่ดีครับ และพอมันโตๆกันแล้วคงแน่นดีพิลึก อาจจะเลี้ยงได้ไม่ตลอดด้วยครับ ของเสียของปลาจะเยอะจนต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ และไม่แนะนำให้เลี้ยงอโรเอเชียจำนวนน้อยๆสองสามตัวรวมกันนะครับ กัดกันกระจุยแน่นอน
การสืบพันธ์ - ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่น ๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็น ตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย มีบางท่านเพาะพันธ์ได้ในตู้ขนาดใหญ่มากๆ แต่ปลาเพาะส่วนใหญ่ได้มาจากบ่อดินหรือบ่อปูนใหญ่ที่ปล่อยพ่อแม่พันธ์ลงไป หลายสิบคู่ แล้วปล่อยให้ปลาจับคู่กันเอง
การเลี้ยงดู - ขนาดปลาสัมพันธ์กับขนาดตู้ เนื่องจากอโรเอเชียจะมีเกล็ดใหญ่ การกลับตัวจะต้องใช้พื้นที่มากว่าอโรวาน่าเงินหรืออโรวาน่าดำ ที่ลำตัวอ่อนช้อยกว่า ตู้ปลาจึงควรกว้างซักหน่อย เถียงกันไปมาว่าตู้ขนาดไหนเหมาะที่สุดที่จะเลี้บงอโรวาน่าได้ตลอดชีวิต คำตอบส่วนมากคือตู้ขนาด 60*24*24 ลดน้ำ 4 นิ้ว กรองนอกตู้ แต่ในสภาพการเลี้ยงจริง ตู้ขนาดดังกล่าวจะใช้กระจกหนา2หุนครึ่งขึ้นไป ซึ่งแพงกว่าตู้หนา2หุนพอสมควร ทำให้ราคาตู้ขนาดดังกล่าวโดขึ้นไปถึงประมาณ 4000 บาท ซึ่งหลายๆคนก็หันมาใช้ตู้ 60*20*20 กระจก 2 หุน กรองข้างหรือกรองนอกตู้ และบางท่านก็เลี้ยงอโรในตู้ 48*20*20 ไปตลอดชีวิตปลาเป็นสิบปีก็มี ครับ ตู้ใหญ่ย่อมได้เปรียบและดีต่อปลา แต่ตู้ขนาด 48*20*20 น่าจะเป็นขนาดเล็กสุดที่*รับได้สำหรับทั้งปลาทั้งคนเลี้ยงครับ เพราะปลาขนาด 20 นิ้วคงอึดอัดพอสมควรกับตู้ที่เล็กกว่านี้
อาหาร - ในธรรมชาติกินปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในที่เลี้ยงก็ให้ปลาเหยื่อ หนอนนก เขียด กบ กุ้งฝอยเป็นและตาย ตอนขนาดไม่เกิน 5 นิ้วก็ให้ไรทะเลก่อน จนกว่าจะโตได้ที่ค่อยให้อาหารอื่นๆ พวกเนื้อหมู เนื้อไก่ก็กินได้ แต่ไม่ดีเพราะจะย่อยยาก และทำให้น้ำเสียง่าย
อโรอดอาหารได้เป็นเดือน บางทีเอามาลงตู้ใหม่ๆ ปลาไม่กินอะไรก็อย่าเครียดก่อนปลานะครับ

อุณหภูมิที่เหมาะสมก็ 24-30 องศา ที่บ้านเราหน้าร้อนจะร้อนกว่านั้นนิดหน่อย ไม่เกิน 33 พอรับได้ เกินนี้ควรหาทางลดอุณหภูมิบ้าง

ข้อ ควรระวัง - อโรกระโดเก่ง ปิดฝาตู้นะครับ ถ้าเลี้ยงบ่อต้องมีฝาปิด หรือขอบบ่อสูงซักฟุตครึ่งกันเหนียวครับ การโดดลงไปตายในช่องกรองข้างเป็นเรื่องปกตินะครับ หาอะไรมาปิดไว้ก็ดีครับ

ใแห ล่งที่พบ - นธรรมชาติปลาชนิดนี้เหลือน้อยเต็มที ในไทยแทบๆจะไม่เจอตัว แหล่งต้นกำเนิด Indonesia, Malaysia, Thailand, Cambodia และ Viet Nam.

โรคที่เจอบ่อยๆ
- เกล็ดพอง สาเหตุ คุณภาพน้ำแย่มาก ติดเชื้อจากอาหาร ติดเชื้อภายใน เป็นเมื่อไรถามหมอรอฟครับ
- ตาขุ่น เหตุ น้ำไม่สะอาด ปลาว่ายเอาตาไปถูผนังตู้ สายออกซิเจนจนติดเชื้อ หมั่นขัดผนังตู้ เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้นอีหน่อยก็หายเองได้
- เหงือกบาน เหตุ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น้ำเย็นไป ออกซิเจนน้อย เลี้ยงปลาในตู้แคบเกินไป บางกรณีที่แก้ไขที่ต้นเหตุได้ ปลาจะอาการดีขึ้นหรือหายเหงือกบานเอง บางทีไม่หายก็ต้องตัดเหงือกอ่อนทิ้ง ถามหมอรอฟได้เช่นกัน
- หนวดปลาหมึก เกิดจากตู้เล็ก ปลาอึดอัด เอาหนวดถูตู้ ตู้ไม่สะอาด เลยติดเชื้อ แก้ที่สาเหตุอาการจะดีขึ้น
- ปรสิต พวกหนอนสมอ ทำให้เกิดการระคายเคือง
เป็นโรคอะไรถามหมอรอฟได้ที่เวปนี้ครับ

การเปลี่ยนน้ำ - ประมาณอาทิตย์ละครั้งที่ราว 20-30 เปอร์เซน

อย่าใส่ยาในกรณีที่ปลาไม่ป่วย อโรวาน่าแพ้ยามาลาไคท์กรีนอย่างรุนแรงและทำให้ถึงตาย

สายพันธ์ มีมากมาย บางทีก็เรียกต่างๆกันไป
- ทองอ่อน
- เขียว
- เรดบี หรือแดงเกรดสอง
- ทองอินโด
- ไฮแบค ลูกผสมทองอินโดกะมาเลย์
- อโรแดง
- ทองมาเลย์
และ ยังมีชื่อย่อยๆอีกหลายชื่อ จะซื้อก็ศึกษาก่อนซื้อครับ ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อกะเจ้าของเวปนี้แหละ คัดปลาดี แข็งแรง ราคาถูกเมื่อเทียบกะตลาดกลาง
รูปภาพ - เนื่องจากกลัวเวปเต็ม ลองหารูปดูจากกระทู้ในเวปนี้แหละครับ มีทุกสายพันธ์ให้ชม

เพื่อนร่วมตู้
อโร วาน่าเลี้ยงกะปลาอื่นๆได้ครับ เช่นพวกบิเซีย เสือตอ การ์ต่างๆ แคทฟิชหลายชนิด นกแก้ว ตะเพียน อินซีเนต ปลาหมอบางชนิด ปลากระทิง และอื่นๆอีกมากมายมากมาย หาอ่านดูได้จากกระทู้เก่าๆเช่นกันครับ นิสัยของอโรบางตัวก็อยู่กะเมทได้มากมาย บางตัวก็ไล่กัดเขาไปทั่ว เล่นถึงตายก็มี ต้องลองกับปลาคุณเองครับ ว่าเขาชอบแบบไหน

หลักๆคือ อย่าให้อยู่กะปลาที่ดุมากๆ ใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าอโรมากๆ อย่าให้ปลาอโรเล็กกว่าปลาในตู้จนเกินงาม อย่าให้เพื่อนร่วมตู้เล็กกว่าปากอโรวาน่า ไม่ควรรวมกับปลาอื่นที่ว่ายระดับผิวน้ำ เพราะอโรจะไล่งับเอา ปลาที่ว่ายระดับใกล้พื้นตู้จะอยู่กะอโรได้ดีกว่า และปลาที่รวมกะอโรควรเอาตัวรอดได้ เช่น หนังหรือเกล็ดหนา ว่ายน้ำเร็ว ซ่อนเก่ง หรือหุ่นใกล้เคียงกับอโรของเราครับ
1 ทองมาเลย์
2 ทองอินโด
3 แดงอินโด/blood red/ chilli red
4 เขียวมาเลย์

เขียวครับ


chilli red


blue/purple base


RTG/ทองอินโด


Red B


็ำHigh Black


Blood Red หรือ แดงอินโด


ทองมาเลย์ Blue base งามๆ


ทองอ่อน


ส่วน สี อื่นๆ ก็เป็นการครอสบรีดระหว่างสายพันธุ์กันมาเรื่อย เช่น blue/purple base ก็เป็น ทองมาเลย์ ผสม ทองอินโด เป็นตัน
แล้วแต่ฟาร์ม แล้วแต่คนขาย ว่าจะเรียกว่าอะไร

นำมาจากเวปพี่ต้น Rof ครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=81&action=view

No comments:

Post a Comment