Monday, June 22, 2009

ปลาปอด Lepidosiren paradoxa หนึ่งเดียวแห่งป่าอเมซอน


ปลาปอดอเมริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidosiren paradoxa (Fitzinger, ค.ศ. 1837) อยู่ในชั้น (Class)Sarcopterygii ชั้นย่อย (Subclass) Dipnoi ลำดับ (Order) Lepidosireniformes ตระกูล (Family) Lepidosirenidae สกุล (Genus) Lepidosiren

ปลาปอดเมริกาใต้ หรือ ปลาปอดพาราด๊อกซ่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณเมตรครึ่ง หัวมีลักษณะกลมกว่าปลาปอดแอฟริกา ลำตัวมีสีดำคล้ำ มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาปอดแอฟริกา และมีนิสัยที่สุภาพกว่า มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลกไปกว่าปลาปอดจำพวกอื่น ๆ คือ สามารถกินพืชจำพวกเห็ดราได้ด้วย

เมื่อปลาปอดยังเป็นลูกปลานั้น ปลาปอดพาราด็อกซ่า จะมีจุดสีทอง บนพื้นสีดำ, แต่เมื่อโตขึ้นสีพื้นเหล่านั้นจะจางลงไปเป็นสีน้ำตาล หรือเทา. ชุดฟันบนขากรรไกรบน (premaxillary และ maxillary) มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับปลาปอดชนิดอื่นๆ. ปลาปอดอเมริกาใต้มี ขากรรไกรบนที่เชื่อมต่อโดยตรงกับกระโหลก ทำให้กล้ามเนื้อยึดขากรรไกรมีกำลังมาก ซึ่งพบได้ในปลาปอดทั้งหมด, ลำตัวมีลักษณะยาวและเพรียว ซึ่งดูคล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างแอมฟิอุม่า, ครีบหางเป็นแบบ ไดฟิเซอคอล (diphycercal). ปลาปอดชนิดนี้สามารถโตได้ถึง 1.25 เมตร (4.1 ฟุต). ครีบอกจะมีลักษณะผอมเรียวคล้ายเส้นด้าย, ในขณะที่ครีบเชิงกรานจะค่อนข้างใหญ่กว่า และอยู่ห่างกันมาก. เหงือกจะหดสั้นลงไปเรื่อยๆ และจะหายไปเมื่อโตขึ้น

ปลาปอดพาราด๊อกซ่าสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเพียงแค่บางช่วงของปีได้, เช่น หนองน้ำตื้นๆ, แหล่งน้ำนิ่งของแม่น้ำสาขา และคลองเล็กๆ. พื้นที่เหล่านี้จะแห้งในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลน พวกมันจะฝังตัวลงไปในโคลนลึกประมาณ 30-50 ซม., สร้างเป็นโพรงบริเวณปลายหลุมนั้น เหลือเพียงช่องเล็กๆที่ทำหน้าที่รับอากาศจากภายนอกเท่านั้น ภายในนั้นปลาปอดจะขดตัวหางไปจรดถึงหัว, หลังจากนั้นจะขับเมือกออกมาเพื่อสร้างเป็นดักแด้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอา ไ้ว. อากาศจะเข้ามาทางช่องที่ขุดไว้ผ่านทางหลุมเล็กๆบริเวณด้านบนของโคลนที่แห้ง. ปลาปอดจะเข้าสู่สภาวะการจำศีล พวกมันจะหยุดการเจริญเติบโต รวมทั้งหยุดกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดลงชั่วคราว เท่าที่ทราบพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ได้นานถึง 4 ปี.ในช่วงระหว่างการจำศีล ปลาปอดจะทำการลดการเผาผลาญพลังงานลง และใช้สารอาหารจากส่วนไขมันบริเวณหาง จนกว่าสภาพแวดล้อมจะเหมาะสม พวกมันถึงจะออกมาอีกครั้ง

เมือกเคลือบตัวของปลาปอดอเมริกาใต้นี้ จะคล้ายคลึงกับพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ. มากกว่าปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus fosteri)

จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝน​พวกมันจะออกมากจากการจำศีลนั้น ปลาปอดที่โตแล้วจะย้ายไปยังบริเวณพื้นที่น้ำท่วม ทำการจับคู่ผสมพันธุ์ เและจะเริ่มสร้างรังและวางไข่อีกครั้ง ปลาปอดทั้งตัวผู้ตัวเมีย จะรวบรวมเศษต่างๆ เพื่อนำมาสร้างเป็นรัง ในขณะที่ตัวผู้จะคอยปกป้องไข่ในช่วงที่ยังเป็นไข่จนกระทั่งไข่ฟักออกมาเป็น ตัว ในช่วงเวลานี้ตัวผู้จะพัฒนาโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยท่อจำนวนมากซึ่งดูคล้าย ขนนกปกคลุมอยู่โดยพัฒนามาจากครีบเชิงกราน โครงสร้างนี้จะทำให้ตัวผู้สามารถนำอ๊อกซิเจนออกจากเลือดของมันไปยังบริเวณ รอบๆของรัง และขจัดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกไปด้วย เพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำให้แก่ไข่ที่กำลังฟักเป็นตัว โครงสร้างนี้จะหายไปหลังจากพ้นผ่านฤดูผสมพันธุ์ไปแล้ว

ลูกปลาปอดพาราด๊อกซ่า เมื่อแรกออกมาจากไข่ จะคล้ายกับพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมาก. พวกมันมีเหงือกภายนอก 4 ชุด เพื่อใช้ในการหายใจในช่วง 7 สัปดาห์แรกนับตั้งแต่เกิดมา. หลังจากพ้นช่วงเวลานั้น พวกมันจะสามารถหายใจด้วยอากาศได้อย่างแท้จริง และเหงือกภายนอกเหล่านั้นจะเริ่มหดหายไป

ปลาปอดพาราด๊อกซ่า เป็นปลาปอดเพียงชนิดเดียวที่พบในอเมริกาใต้ พบอาศัยอยู่ตามหนองน้ำ แหล่งน้ำนิ่ง หรือมีการเคลื่อไหวเพียงเล็กน้อย เช่น หนองน้ำ หรือทะเลสาป ของอเมซอน, ปารากวัย และ ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำปารานา รวมถึงอาร์เจนติน่า โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย เฟรนช์ เกียน่า, เปรู และ เวเนซูเอล่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะจะอยู่ระหว่าง 24 - 28 องศา

ปลาปอด อเมริกาใต้ เป็นที่รู้จักอย่างมากเนื่องจากพวกมันสามารถพบเห็นได้ง่าย พวกมันมีความเกี่ยวโยงกันใกล้ชิดระหว่างปลาปอดอีกตระกูลหนึ่งคือ Protopteridae (ตระกูลปลาปอดแอฟริกา). คือมีรูปร่างคล้ายปลาไหล, โดยมีลำตัวคล้ายท่อ และมีเกล็ดเล็กๆ ฝังอยู่บนลำตัว. ครีบอก และ ครีบเชิงกราน มีลักษณะยาวคล้ายเส้นด้าย.

อวัยวะช่วยในการหายใจของ ปลาปอด Paradoxa คือปอด 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งจะเชื่อมต่อกับปาก ปอดข้างนี้ผนังเป็นร่อง ทำหน้าที่ให้อ๊อกซิเจนแก่เลือด. ปลาปอดทั้ง 2 กลุ่มนี้ เมื่อยังเล็ก จะมีเหงือกภายนอกลักษณะเป็นฝอยและยาว อยู่บริเวณหลังหัว โดยจะหายไปเมื่อพวกมันยาว 4 ซม (1.6 นิ้ว)

เมื่อปลาปอดอยู่ในน้ำ พวกมันจะหายใจโดยขึ้นมายังผิวน้ำ และยื่นส่วนปลายจมูกพ้นเหนือผิวน้ำ แล้วจึงอ้าปากออก จากนั้นจึงฮุบเอาอากาศเข้าไปในปอด. โดยที่จะมีโพรงจมูกภายในจะทำหน้าที่ช่วยให้พวกมันหายใจเอาอากาศที่ผิวน้ำ เข้าไปโดยไม่ต้องเปิดปาก และกลืนน้ำเข้าไป. เพราะว่าปลาปอดนั้นหายใจโดยปอดแทนที่จะใช้เหงือกเหมือนปลาทั่วไป, อากาศที่ปลาปอดหายใจเข้าไปเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พวกมันมีชีวิตรอดอยู่ได้ ถ้าหากว่าปลาปอดถูกทำให้จมลงไปใต้น้ำโดยไม่ให้มันขึ้นมาเอาอากาศที่ผิวน้ำ พวกมันก็จะจมน้ำตายในที่สุด

อายุขัยโดยเฉลี่ยของปลาปอดพาราด๊อกซ่า (ป่า) อยู่ที่ 8.3 ปี ส่วน ปลาปอดพาราด๊อกซ่าในที่เลี้ยงจะอยู่ที่ประมาณ 8.25 ปี ซึ่งจะเห็นว่าแทบไม่ต่างกันเลย

ปลาปอดพาราด๊อกซ่าในที่เลี้ยง
ปลาปอดพาราด๊อกซ่า เราอาจพิจารณาได้ว่ามันเป็นพวก กินทั้งพิชและสัตว์ (omnivores) ก็น่าจะได้เนื่องจากพวกมันกินอาหารได้แทบทุกอย่างที่มันหาได้ ไม่ว่าปลาเป็นๆ หรือปลาตาย หรือเศษซาก. ทั้งยังกินแมลง, กุ้ง, กุ้ง crayfish หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่เคลื่อนที่เร็วพอจากแรงดูดจากปากของพวกมัน. แต่อย่างไรก็ดี ลูกปลาปอดเมื่อแรกเกิดกลับเป็นพวกกินเนื้ออย่างเดียว (carnivorous)

ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาปอดชนิดนนี้ จำเป็นต้องใช้ที่ที่กว้างขวางเพียงพอเพื่อให้มันสามารถยืดตัวได้อย่างไม่อึด อัด. โดยตู้ปลาต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 48 นิ้ว (ประมาณ 55 แกลลอน) ตู้ที่ใช้ควรเหมาะกับช่วงการเจริญเติบโตของมัน. การมีพื้นที่ให้มันว่ายน้ำนั้นไม่จำเป็นเนื่องจากพวกมันเป็นปลาที่ไม่ค่อย เคลื่อนไหวมากนัก. แนวคิดที่ว่าสิ่งต่างๆไว้ให้มันเป็นที่หลบซ่อนนั้นทำได้แต่ไม่ควรรกจนเกินไป จนทำให้ไปกีดขวางทางขึ้นมาหายใจของปลาปอดได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ปลาปอดจมน้ำตายได้
อุณหภูมิที่เหมาะกับการเลี้ยงอยู่ที่ 24-28 องศาเซลเซียส (แต่ในความเป็นจริงนั้นอุณหภูมิอาจสูงกว่านั้นได้)

พฤติกรรมทางด้านสังคม
พวกมันไม่ก้าวร้าว แต่มันก็สามารถกินปลาตัวไหนก็ได้ที่มีขนาดพอดีกับปากของมัน. ถึงแม้ว่าปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับปลาปอดได้นั้น แต่ก็ค่อนข้างเสี่ยงที่จะโดนปลาปอดทำร้าย หรือทำร้ายปลาปอดก็ได้. ในกรณีที่ปลาปอดทำร้ายนั้น มันไม่ใช่มาจากความก้าวร้าวของมัน แต่เป็นเพราะให้อาหารแก่ปลาปอดนั้นไม่เพียงพอ. รวมถึงปลาปอดตัวอื่นที่อาจจะเกิดครีบหายได้

การเพาะพันธุ์
ยังไม่เคยมีการเพาะพันธุ์ปลาปอดชนิดนนี้ได้ในที่เลี้ยง ในธรรมชาติ ตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะสร้างหลุมจากโคลน พร้อมกับพวกซากพืช. หลังจากนั้นจะถอยออกมาแล้วผิดหลุมนั้น. จนถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวเต็มวัยเหล่านั้นจะไม่หายใจผ่านปอด, พวกมันไม่จำเป็นต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำแล้ว. แต่จะหายใจด้วยเหงือกที่เต็มไปด้วยก้านฝอยยื่นออกมาแทน ซึ่งจะอยู่เพียงชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น

ปลาปอดในลำดับ Lepidosireniformes (ปลาปอดอเมริกาใต้และปลาปอดแอฟริกา)
ปลา ปอดอเมริกาใต้ (Lepidosiren paradoxa) เป็นปลาปอดชนิดแรกที่ได้มีการบรรยายลักษณะไว้ (ในปี 1837 โดย Leopold J. F. J. Fitzinger) ซึ่งถูกค้นพบและจับได้จากแม่น้ำอเมซอน โดย Johann Natterer , และได้มอบให้เป็นของขวัญแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรีย ที่เป็นนักสะสมที่มีชื่อเสียงในประเทศบราซิล (ปี 1817-1835). ส่วนปลาปอดแอฟริกา ได้ถูกบรรยาย ในช่วงเวลาไม่นานหลังจากนี้ ในปี 1839 โดยนักกายวิภาคชาวอังกฤษ ที่ชื่อ Richard Owen (1810–1890), ผู้ที่เชื่ออย่างแน่วแน่ว่า ปลาปอดนั้นเป็นปลาจริงๆ หาใช่พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำแต่อย่างใด นักสัตววิทยาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ได้จำแนกบรรพบุรุษปลาปอดไว้อย่างน่าสงสัยว่า ปลาปอดนั้นมีความใกล้ชิดกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือปลากระดูกแข็งกันแน่. ในปัจจุบันได้มีการจำแนกปลาปอดไว้เป็นอีกกลุ่มต่างหากนั่นคืออยู่ใน ชั้น (class) Sarcopterygii โดยได้รวม ปลาซีลาแคนธ์ ไว้ด้วยรวมถึงฟอสซิลปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ, เพราะพวกมันใกล้เคียงและมีความเชื่อมโยงกับสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกมากกว่า พวกปลากระดูกแข็งทั้งหลาย (Actinopterygii)

ปลาปอดในลำดับ (order) Lepidosireniformes จากการเปรียบเทียบของตัวจากตัวอย่างทั้งหมดได้พบว่า มีอยู่ด้วยกัน 2 ตระกูล แต่พวกเขาได้ตัดสินใจจัดให้อยู่ในลำดับ (order) เดียวกัน โดยใช้ชื่อตระกูล (Family) ของปลาปอดอเมริกาใต้ ที่มีอยู่เพียงชนิดเดียวซึ่งเป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด เป็นชื่อลำดับ ส่วนอีกตระกูลนั้นก็คือตะกูลปลาปอดแอฟริกา (Protopterus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดนั้น ที่ได้รับการยืนยันได้แก่ P. annectens, P. aethiopicus, P. dolloi, และ P. amphibius. บางชนิดนั้นเป็นการยากในการจำแนกชนิดพวกมัน ต้องพิจารณากันโดยละเอียดทาง Taxonomic , รวมถึงความถูกต้องแน่นอนของชนิดย่อย

ความสัมพันธ์ของการวิวัฒนาการของพวกมันในแต่ละชนิดนั้นยังไม่ได้มีการศัก ษาอย่างเต็มที่นัก. Lepidosiren และ Protopterus ถูกจัดไว้อยู่ในลำดับเดียวกัน, แต่จะแยกกันชัดเจนในชั้นตระกูล (Family) พวกมันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus forsteri) และมีความสัมพันธ์กับฟอสซิลที่พบ, ในขณะที่มีการคาดว่าฟอสซิลปลาปอดที่พบนั้นยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับ จำนวนทั้งหมด (มีเพียง 60 สกุล, 280 ชนิด ที่รู้จักกันในปัจจุบัน) ปลาปอดที่ยังมีชีวิตอยุ่ในปัจจุบันนี้อาจจะเรียกพวกมันได้ว่าเป็น "ฟอสซิลที่มีชีวิต" ที่สืบสายมากจากปลาในยุคดึกดำบรรพ์, ปลาปอด มีอยู่อย่างมากมายเมื่อยุคเดโวเนี่ยน (Devonian ประมาณ 417-354 ล้านปีก่อน) และยุคไทรแอสสิก (Triassic ประมาณ 248-205 ล้านปีก่อน). ฟอสซิลที่มีความเกี่ยวข้องกับ Lepidosiren และ Protopterus (ปลาปอดอเมริกาใต้ และ ปลาปอดแอฟริกา) ซึ่งทราบจากอเมริกาใต้ และ แอฟริกา ในยุคครีเตเชียส (Cretaceous), ซึงปลาปอดในสกุล (genus) นี้ คล้ายกับ Neoceratodus, ซึ่งเป็นปลาสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

การแพร่กระจายพันธุ์
ปลาปอดอเมริกาใต้ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง มากกว่าปลาปอดชนิดอื่นที่พบในปัจจุบัน, พบในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอเมซอน และ ในระบบแม่น้ำพารานา ของปารากวัย และยังพบในเฟรนช์ เกียน่า. ในชนิด Protopterus จะพบอยู่ในพื้นที่จำกัด, P. annectens พบในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก, P. aethiopicus พบในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก, P. dolloi พบในพื้นที่จำกัดในแหล่งน้ำคองโก และ P. amphibius พบในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก

ถิ่นอาศัย
ปลาปอดอเมริกาใต้และปลาปอดแอฟริกา จะพบได้ทั่วไปในแม่น้ำที่ไหลเอื่อย, ที่เต็มไปด้วยพืช และ หนองน้ำ,​แหล่งน้ำนิ่ง (พบเฉพาะ Lepidosiren paradoxa). นอกจากนี้ยังพบในทะเลสาปเปิด (เช่น P. aethiopicus พบในทะเลสาปวิคตอเรีย). พื้นที่น้ำท่วมถึง (เช่น P. dolloi พบในลุ่มแม่น้ำคองโก และ P. annectens พบในเซเนกัล, แกมเบีย, ไนเจอร์ และ แม่น้ำโวลต้า ในแอฟริกาตะวันตก) ใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ, (P. aethiopicus ในทะเลสาปแทงกันยิกา, P. amphibius ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแซมเบซี), รวมทั้งในสระเล็กๆอีกด้วย

พฤติกรรม
ปลาปอดอเมริกาใต้ และ ปลาปอดแอฟริกา จะมีลักษณะเฉื่อยชา, โดยการว่ายน้ำจะเป็นลักษณะเคลื่อนตัวเป็นคลื่นคล้ายการเคลื่อนที่ของงู หรือโดยการคลานด้วยครีบอก และครีบเชิงกราน, โดยเฉพาะการเคลื่อนตัวไปกินซากสัตว์ที่พื้นน้ำ. ปลาปอดทั้งสองสกุลนี้ต้องหายใจด้วยอากาศ,​ไม่เหมือน ในสกุลปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus) ที่จะสามารถหายใจผ่านเหงือกแบบดั้งเดิมได้. ปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosiren) และ ปลาปอดแอฟริกา (Protopterus) ที่จะสามารถจมน้ำตายได้หากถูกบังคับให้อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา, เนื่องจากเหงือที่ผิวนอกของพวกมันไม่ขนาดไม่ใหญ่เพียงพอต่อการต้องการรับ อ๊อกซิเจนของมันได้. โดยที่ทั้ง 2 สกุลจะมีความสามารถในการจำศีล,​ โดยจะอาศัยอยู่ในโพรงที่ขุดไว้ตลอดช่วงฤดูแล้ง, และพวกมันจะตื่นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (ภาวะจำศีล (estivation) ยืนยันได้จากปลาปอดในยุคเปอร์เมียน (Permian), ที่พบในหลุมที่กลายเป็นฟอสซิล. has been documented for Permian lungfishes, in the form of fossilized burrows). อุณภูมิที่ทำให้เริ่มการจำศีลนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิด, แต่ที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนนั่นคือ P. annectens. พวกมันจะขุดโดยการใช้การกัดดิน และดันโคลนผ่านเหงือกที่เปิด. จากปลาปอดจะกลับตัวโดยหันหัวไปทางปากหลุมที่เปิดอยู่, เพื่อรับอ๊อกซิเจน. ทำให้พวกมันมีชีวิตอยู่รอดได้ ระบบการเผาผลาญพลังงานปรับลดลง สร้างเมือกเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียความชุ่มชื้น. อย่างชนิด P. aethiopicus สามารถอยู่ในรังดักแด้นี้ได้ถึง 4 ปี ในที่เลี้ยง. ปลาปอดจะไม่กินอาหารเมื่ออยู่ในภาวะจำศีล. โดยการใช้ไขมันที่สะสมไว้ที่ส่วนหาง

ปลาปอดส่วนใหญ่เป็นปลากินเนื้อ, อาหารส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (แมลง,​ตัวอ่อนของแมลง, หอย, และพวกกุ้ง) แต่ก็สามารถกินปลา และ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้เช่นกัน. ในทั้ง 2 สกุลนี้ บางครั้งจะกินพืชน้ำด้วย. ปลาปอดนั้นมีศักยภาพในการล่าเหยื่อ โดยการซุ่มรอ หรือ การตามเหยื่อ แล้วจึงจับเหยื่ออย่างรวดเร็วด้วยปากที่มีแรงดูดมากพอที่จะดูดเหยื่อเข้าไป. แต่ผู้ล่าปลาปอดเป็นเหยื่อในธรรมชาตินั้น เราทราบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น, แต่พอจะสมมติฐานได้ว่า น่าจะเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ หรือสัตว์นักล่าที่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆที่จะเป็นผู้ล่าปลาปอด, โดยเฉพาะปลาปอดที่ยังอยู่ในวัยเด็ก

ช่วงฤดูวางไข่ของทุกปี, พวกมันจะเลือกช่วงฤดูฝนไข่จะถูกผสมภายนอก. ในปลาปอดทั้ง 2 ตระกูล ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ และคอยเพิ่มอากาศเข้าไปในรัง. ตัวเมียของปลาปอดแอฟริกา จะวางไข่ในหลุม ที่ขุดโดยตัวผู้ ไข่มีขนาดเล็ก (4-7 มิลลิเมตร), ใช้เวลาในการฟัก 1-2 สัปดาห์, ซึ่งช่วงนี้พวกลูกปลาปอดจะดูคล้ายลูกอ๊อเพรียวๆ, มีเหงือกภายนอกคล้ายขนนก, หลังจากผ่านช่วงระยะนี้ไป 1 เดือน - 55 วัน ตัวอ่อนของปลาปอดจะเริ่มหายใจด้วยอากาศ. ในระยะนี้พวกมันจะมีความยาวประมาณ​ 1 นิ้ว - 1.6 นิ้ว และยังมีเหงือกภายนอกอยู่. พวกตัวอ่อนเหล่านี้จะยังไม่ค่อยเคลื่อนไหว. และยังอาศัยอยู่ในรังไม่ไปไหน จนกว่าถุงไข่แดงที่ติดอยู่จะหมดไป และพวกมันจะเริ่มออกหาอาหาร จำพวกตัวอ่อนของแมลง,พวกกุ้ง ปู และจะหายใจจากอากาศได้

ความสำคัญสำหรับมุนษย์
ปลาปอดทั้ง 2 สกุลนี้จะพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำ, ถึงแม้ว่าพวกมันจะถูกนำมาเป็นอาหารในบางพื้นที่ของแอฟริกา, แต่พวกมันก็ไม่ใช่ปลาที่นิยมนำมาเป็นอาหาร. พวกมันเป็นปลาที่ไม่มีอันตราย, แต่ถ้าหากไปรบกวนอาจจะทำให้คนที่ไปรบกวนเจ็บตัวจากการกัดได้ เนื่องจากพวกมันมีขากรรไกรที่แข็งแรงและฟันที่คมมาก



เครดิต อีกาตัวดำๆ เป็นผู้รวบรวมครับ
เครดิตครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/South_American_lungfish
http://animaldiversity.ummz.umich.edu/site/accounts/information/Lepidosiren_paradoxa.html
http://animal-world.com/encyclo/fresh/Misc_PseudoBony/SouthAmericanLungfish.php
http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleURL&_udi=B6X16-4TCHKM5-1&_user=10&_rdoc=1&_fmt=&_orig=search&_sort=d&view=c&_acct=C000050221&_version=1&_urlVersion=0&_userid=10&md5=aa243eb19f7cc5986a74a36443107d61
http://jeb.biologists.org/cgi/content/abstract/46/2/205
http://www.neosys.ne.jp/neo/english/hg01.html
http://scienceblogs.com/laelaps/2009/02/giant_killer_lungfish_from_hel.php
http://science.jrank.org/pages/4010/Lungfish-African-South-American-lungfish.html

No comments:

Post a Comment