Monday, June 15, 2009

กุ้งเครฟิช


แต่ เดิมคนไทยที่คิดจะเลี้ยงกุ้งเครฟิสมาเลี้ยงในตู้ปลาเป็นกุ้งสวยงามจะต้องมี การสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงมาก อีกทั้งยังพบปัญหาในการรอดต่ำ คุณมาโนช ลักษณกิจ ชาวอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในการเพาะพันธุ์ปลารันชู, กุ้งแคระและกุ้งเครฟิส ทำให้ราคาซื้อ-ขายกุ้งเครฟิสที่เพาะขยายพันธุ์ได้ในบ้านเรามีราคาถูกลงมาถึง 1-2 เท่าตัว คุณภาพของกุ้งไม่แพ้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ คุณมาโนชได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจที่คิดจะเลี่ยงกุ้งเครฟิสเป็น กุ้งสวยงามควรจะเริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสวยงามที่เลี้ยงง่ายก่อน เช่น กุ้งบลูล็อบเตอร์หรือกุ้งมังกรฟ้า ซึ่งเป็นกุ้งล็อบเตอร์น้ำจืด เลี้ยงกุ้งชนิดนี้ให้เกิดความชำนาญเสียก่อนและค่อยมาเลี้ยงกุ้ง เครฟิสสายพันธุ์อื่นต่อไป

สำหรับ วิธีการเลี้ยงกุ้งเครฟิสในตู้เลี้ยงปลา ควรจะใช้ตู้ที่มีขนาด 24 นิ้วขึ้นไปและมีระบบกรองน้ำในตัว ในแต่ละตู้จะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้เพียง 1-2 ตัวเท่านั้น เนื่องจากนิสัยของกุ้งเครฟิสจะคล้ายกับปลาหมอสีที่มักจะหวงถิ่นและชอบรังแก ตัวที่อ่อนแอกว่า บางครั้งพบการกินกันก็มี ตู้ปลาควรรองพื้นตู้ด้วยก้อนกรวดหินสีต่าง ๆ สำหรับผู้เลี้ยงที่รักศิลปะอาจจะเลือกสีของกรวดให้ตัดกับสีตัวกุ้งเครฟิสก็ ได้ พันธุ์ไม้น้ำไม่เหมาะที่จะนำมาใส่ไว้ในตู้ปลาเพราะกุ้งเครฟิสจะใช้ก้ามตัด และรื้อทำลายจนหมดควรหากระถางหรือแจกันดินเผาหรือท่อ PVC หรือขอนไม้เพ่อให้กุ้งได้เป็นที่หลบซ่อนตัว


อาหาร หลักที่ใช้เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปประเภทอาหารจม และควรจะเสริมด้วยอาหารสด เช่น หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีนช่วยให้กุ้งมีสีสด โตเร็วและก้ามโต แต่ข้อควรระวังในการใช้อาหารสดคือน้ำที่ใช้เลี้ยงอาจจะเสียได้ จะต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยในการเปลี่ยนแต่ละครั้งควรเปลี่ยนน้ำเก่าออก ประมาณ 20-30% ของตู้แล้วเติมน้ำสะอาดใหม่ลงไปทดแทนถ้าใช้น้ำคลอรีนควรพักน้ำในบ่อนาน ประมาณ 7-10 วัน

คน ที่เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะหลงเสน่ห์ของกุ้งสวยงามชนิดนี้ ผู้เลี้ยงจะได้เห็นพัฒนาการของกุ้งในแต่ละช่วงชีวิต ตั้งแต่ลูกกุ้ง หลังการลอกคราบทุกครั้งขนาดของตัวกุ้งจะใหญ่ขึ้นและมีสีสันที่เปลี่ยนไป เสน่ห์อยู่ตรงที่ผู้เลี้ยงกุ้งจะได้ลุ้นว่าตัวกุ้งจะขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไรและ สีสวยสดมากขึ้นหรือไม่ ในการเลี้ยงกุ้งเครฟิสนั้นมักจะนิยมเลี้ยง 1 ตัวต่อ 1 ตู้ก่อนและหากุ้งตัวที่ 2 มาใส่ลงเลี้ยงทีหลังและใน 2 ตัวจะต้องเป็นตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัว ช่วงแรกหมั่นสังเกตว่ากุ้งทั้ง 2 ตัว เข้าคู่กันได้หรือไม่ ถ้าเข้ากันได้ในอนาคตจะมีโอกาสผสมพันธุ์กัน ในกรณีที่ผสมพันธุ์กันสำเร็จตัวเมียจะมีไข่ให้แยกเอาตัวผู้ออกมาจากตู้ เมื่อไข่ฟักออกเป็นลูกกุ้งให้แยกลูกกุ้งออกมา (พ่อ-แม่จะกินลูกกุ้ง) ให้เอาลูกกุ้งไปอนุบาลต่างหาก ปัจจุบันกุ้งเครฟิสจะแยกได้ 2 กลุ่มตามลักษณะของก้าม คือ “กลุ่มก้ามหนาม”(Procambarus) และ “กลุ่มกล้ามโต”(Cherax) ส่วนมากจะเรียกกัน สาย P กับสาย C ครับ
ต่อไปเป็นกุ้งเครที่มีขายในบ้านเรานะครับ
กุ้งบลูล็อบเตอร์


กุ้งแอพพลิคอต Cherax holthuisi


กุ้งม้าลาย Cherax zebra


กุ้งCherax sp. Tricolor


กุ้งโอเชียนบลู หรือ บลูมูน Cherax sp. blue moon


กุ้งนิวเรด Cherax sp. redbrick


กุ้งบลูเพิล Cherax destructor


กุ้งบลูสปอต Procambarus clarkii blue


กุ้งแดง Procambarus clarkii


กุ้งไบรท์ออเรนจ์ Procambarus clarkii orange (ตัวนี้ผมเลี้ยงเองครับเคยโดนหนีบนิ้วเลือดซิบเลย 5555)


กุ้งสโนว์ Procambarus clarkii white (ตัวนี้ผมเลี้ยงเองครับ)


กุ้งมาเบิล (เกิดจากการผสมข้ามสีของสาย P สีต่างๆมีสีสรรที่หลากหลาย)


กุ้ง Cherax sp. Orange Tip


กุ้ง Cherax Preissii Black jet (ตัวนี้หลายๆท่านคงอยากได้แต่เลี้ยงไม่ค่อยจะรอดครับ)


เครดิต คุณ crazy cray จาก http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=8185.0
ที่มา : ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. คอลัมน์ “สัตว์สวยป่างาม”. เดลินิวส์ ฉบับที่ 21,233 วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2550 หน้า 16.
http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=2166

3 comments:

  1. กุ้ง Cherax Preissii Black jet ทำไมถึงเลี้ยงไม่ค่อยจะรอดคับ

    ReplyDelete
  2. กุ้ง Cherax Preissii Black jet ต้องเลี้ยงในน้ำเย็นมากๆครับทำให้ไม่เหมาะกับประเทศไทยเท่าไหร่

    ReplyDelete
  3. ชอบ
    กุ้งไบรท์ออเรนจ์
    กุ้ง Cherax sp
    กุ้ง Cherax Preissii Black jet ตัวนี้ชอบมากที่สุด

    ReplyDelete